รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวม พบว่า มีระดับการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทั้ง 6 ด้าน คือ การจัดทำหลักสูตร การวัดและประเมินผลการเรียน การวางแผน การจัดการเรียนการสอน และสื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด
- การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า รูปแบบมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) ระบบการดำเนินการ 4) กระบวนการดำเนินการ 5) การประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ
- ผลการเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความเหมาะสม ด้านจุดมุ่งหมาย และความเป็นไป ด้านระบบการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
How to Cite
Apiwat Titasaro, P., Srivichai, S., & Buasiri, A. (2018). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการรักษาศีล 5 สำหรับสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1389–1401. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/110847
บท
บทความวิจัย
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร