การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา

Main Article Content

Aree Koten
Krisda Nantapetch

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศ
สหรัฐอเมริกา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา และ 3) เพื่อนำ
เสนอรูปแบบการพัฒนาบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการ
วิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพทั่วไปของการบริหารศูนย์ปฏิบัติในประเทศสหรัฐอเมริกา ในด้านบริหารจัดการ ยังขาดปัจจัยในการดำเนินการ ผู้ที่ศรัทธาส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวเอเชีย ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงานด้านวิทยากรหรือบุคคล พระธรรมทูตที่มีความรู้ ด้านสถานที่ มีการก่อตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมโดยการเช่าพื้นที่ในการตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรม
2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ การปฏิบัติตามในสหรัฐอเมริกา คือ ด้านการบริหารจัดการต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสนับสนุนการทำงานโดยตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน แบ่งหน้าที่ในการทำงานให้ตรงกับทักษะของผู้มีความชำนาญ มีการวางแผนกิจกรรมทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมีการฝึกอบรมจัดทำหลักสูตรความรู้ธรรมะและการสอนสมาธิ และกิจกรรมให้กับชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้านวิทยากรหรือบุคคล ต้องมีความรู้ดี ความประพฤติดี และมีความสามารถนำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้โดยอย่างเหมาะสม
3) รูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา เรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องวิทยากรหรือบุคลากร เราจึงนำหลักการบริหารวิทยาการสมัยใหม่คือ 7s McKinsey มีการวางแผนใช้กลยุทธ์ และประยุกต์หลักพุทธบริหาร ทั้งสามอย่างจะเป็นตัวขับเคลื่อนงานพระศาสนา จึงมีแนวปฏิบัติ 3 ด้านคือ ด้านการบริหารจัดการ ด้านวิทยากรหรือบุคคล และสถานที่ที่เหมาะสมในการปฏิบัติธรรมในต่างประเทศต่อไป


 

Article Details

How to Cite
Koten, A., & Nantapetch, K. (2018). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1448–1460. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/108254
บท
บทความวิจัย