การพัฒนากลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยตามหลัก พุทธบริหารการศึกษาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ 3) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเชิงผสมผสาน ผลการวิจัย พบว่า
- พระสงฆ์และองค์กรพุทธยังไม่มีการวิจัยประเมินผลการเผยแผ่ธรรมะ เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมที่อาศัยอยู่หรือพื้นฐานของผู้ฟังแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางศีลธรรม ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการเผยแผ่กิจกรรมของพระสงฆ์ไทย การทำงานลักษณะเช่นนี้ถือว่าการเผยแผ่เชิงรุกแต่ไม่ได้ตอบรับจากประชาชนไทยในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- ผลการพัฒนากลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกลไกของกลยุทธ์ 3 ประการ คือ พันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าประสงค์ มียุทธศาสตร์ตัวแบบ มีองค์ประกอบกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนา 7 ประการ ประกอบด้วย การวางแผน การจัดตัวบุคคล การอำนวยการ การบริหารงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติงาน การจัดหน่วยงาน และการประสานงาน
3. ผลการนำเสนอกลยุทธ์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยตามหลักพุทธบริหารการศึกษาในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีองค์ประกอบของกลยุทธ์ 3 ส่วน ส่วนที่ 1 ส่วนนำของกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) พันธกิจ พัฒนาความรู้ พัฒนาทักษะ พัฒนาความสามารถ 2) วิสัยทัศน์ 3) เป้าประสงค์ ส่วนที่ 2 ตัวแบบการจัดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เกี่ยวกับระบบงาน ด้วยกลยุทธ์ PHDBOON และกระบวนการจัดการ ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย โครงสร้าง การตัดสินใจ และแนวทางการประเมิน เนื่องจากกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้มากที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์ต่อพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่เผยแผ่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร