ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของการเรียนการสอน รัฐประศาสนศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย

Main Article Content

Boonchuay Cheangwejchai

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหาสาเหตุการขยายตัวของการเรียนการสอนรัฐประศาสนศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย 2) ศึกษาปัญหาและผลกระทบอันเนื่องมาจากการขยายตัวของการเรียนการสอนดังกล่าว 3) วิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ จะประกอบด้วยคณาจารย์สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ ผู้บริหารจากสำนักมาตรฐานประเมินผลอุดมศึกษา และนักศึกษาในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จากสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการแจกแบบสำรวจความคิดเห็นและทัศนคติเพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนประกอบการศึกษาวิจัย ผลการศึกษาพบว่า


            สาเหตุสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนรัฐประศาสนศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการสนับสนุนและความต้องการจากหน่วยงานภาครัฐ ค่านิยมและความต้องการของนักศึกษาและความเห็นแก่ตัวเพื่อมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย โดยผลกระทบจากการขยายตัวของหลักสูตรที่ไม่มีมาตรฐานและคุณภาพนั้นจะส่งผลให้นักศึกษาที่จบการศึกษาไม่มีคุณภาพ และเจตนารมณ์ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพถูกบิดเบือนไป สำหรับแนวทางในการแก้ไขนั้น ควรจะมีการเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีและปลูกฝังค่านิยมที่เหมาะสมให้แก่มหาวิทยาลัย นักศึกษา ตลอดจนสร้างการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจากภาคประชาชน

Article Details

How to Cite
Cheangwejchai, B. (2018). ปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการขยายตัวของการเรียนการสอน รัฐประศาสนศาสตร์ในระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 642–655. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/104297
บท
บทความวิจัย