ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อความสามารถ ในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานต้อนรับภาคพื้นคนไทยและความภักดีในตราสินค้าของสายการบินไทย

ผู้แต่ง

  • เทพฤทธิ์ จิตจักร์
  • เยาวเรศ ธาราวุฒิ
  • วัชรี ไพสาทย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/jlapsu.2021.4

คำสำคัญ:

ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจา, การรับรู้ของผู้โดยสาร, ความพึงพอใจของผู้โดยสาร, ความภักดีในตราสินค้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้โดยสารต่างชาติต่อความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นคนไทยในการปฏิบัติงานเฉพาะหน้าที่ที่สายการบินไทยและสำรวจการรับรู้ของผู้โดยสารต่างชาติเกี่ยวกับความภักดีในตราสินค้าที่เป็นผลจากความพึงพอใจในความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นและตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับความภักดีในตราสินค้าของผู้โดยสารต่างชาติงานวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบ 5 ระดับ ของลิเคิร์ทและสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผลวิจัยพบว่าความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นในการปฏิบัติงานเฉพาะหน้า3 ด้าน ได้รับคะแนนความพึงพอใจอย่างมาก ได้แก่ บริการช่วยเหลือพิเศษ (เฉลี่ย 3.81) บริการลูกค้าที่สนามบิน (เฉลี่ย 3.96) บริการสัมภาระ (เฉลี่ย 3.66) เนื่องจากความพึงพอใจต่อความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นผู้โดยสารต่างชาติตั้งใจจะเดินทางกับสายการบินอีกครั้งในอนาคตและแนะนำสายการบินให้กับผู้อื่นโดยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นกับความภักดีในตราสินค้าของผู้โดยสารต่างชาติมีไม่มาก (r = .19, p = .49) จากความคิดเห็นระหว่างการสัมภาษณ์ผู้โดยสารต่างชาติ แม้ว่าความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานภาคพื้นจะมีผลกระทบต่อความภักดีในตราสินค้าของผู้โดยสารต่างชาติไม่มากก็สามารถเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความภักดีในตราสินค้าได้ผลการวิจัยสามารถเป็นแนวทางให้ผู้ฝึกสอนเจ้าหน้าที่ภาคพื้นและครูสอนภาษาอังกฤษสำหรับสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมและการสอนเพื่อเพิ่มความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาโดยนำไปสู่การคงไว้หรือเพิ่มขึ้นซึ่งความภักดีในตราสินค้าได้

References

Anglo-Continental Aviation English Division. (2020). English for aviation. https://www.anglo-continental.com/wp-content/uploads/2019/10/Aviation-Prospectus-2020.pdf

Chen, C. (2018). Factors affecting customer satisfaction and loyalty towards low-cost airline in Thailand. International Journal of Accounting, Finance and Business, 3(7), 104-114.

Chonsalasin, D., Jomnonkwao, S., & Ratanavaraha, V. (2020). Key determinants of airline loyalty modeling in Thailand. Journal of Sustainability, 12(10), 1-17. https://doi.org/10.3390/su12104165

Dornyei, Z. (2007). Research methods in applied linguistics: Quantitative, qualitative, and mixed methodologies (Oxford applied linguistics). Oxford University Press.

Erazo, M. A. C., Ramirez, S. I. M., Encalada, M. A. R., Holguin, J. V., & Zou, J. H. (2019). English language skills

required by the hospitality and tourism sector in El Oro, Ecuador. Journal of Theory and Practice in Language Studies, 9(2), 156-167. http://dx.doi.Org/10.17507/tpls.0902.05

Gharaibah, O. A. (2020). Brand equity and loyalty in the airline industry: The role of perceived value and online

word of mouth. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 14(9), 1-18.

Hauke, A. & Kossowski, T. (2011). Comparison of values of Pearson’s and Spearman’s correlation coefficients on the same set of data. Questions Geographicae, 30(2), 87-93.

Kee, A. (2021). 9 ways to improve your company image. https://www.bandboo.co/9-ways-improve-company-image/

Muzinda, M. (2021). Customer service strategy to minimize negative customer incidents in the airline industry[Unpublished doctoral dissertation]. Walden University. https://scholarworks.waldenu.edu/dissertations

Lobo, M. & Guntur, R.D. (2018). Spearman’s rank correlation analysis on public perception toward health partnership project between Indonesia and Australia in East Nusa Tenggara Province [Conference proceedings].

International Conference on Science and Technology 2018, 1116(2), 1-6. https://doi.org/10.1088/1742-6596 /1116/2/022020

Skybrary (2021). English language proficiency requirements. https://www.skybrary.aero/index.php/English_Language_Proficiency_Requirements

Spearman, C. (1904). The proof and measurement association between two things. The American Journal of Psychology, 100(3/4), 441-471.

Sricharoenpramong, S. (2018). Service quality improvement of

ground staff at Don Mueang International Airport. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(1), 15-21. https://doi.org/10.1016/j.kjss.2017.12.001

Xiaoqin, L. (2017). Overcommunication strategy of violating Grice’s Cooperative Principle in ground service.

English Language Teaching, 10(11), 162-172. https://www.ccsenet.org/journal/index.php/elt/article/view/71253

Zahedpisheh, N., Abu Bakar, Z., & Saffari, N. (2017). English for tourism and hospitality purpose (ETP). Journal of English Language Teaching, 10(9), 86-94. https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1151526.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-21

How to Cite

จิตจักร์ เ. ., ธาราวุฒิ เ. ., & ไพสาทย์ ว. . (2021). ความพึงพอใจของผู้โดยสารชาวต่างชาติที่มีต่อความสามารถ ในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยวาจาของพนักงานต้อนรับภาคพื้นคนไทยและความภักดีในตราสินค้าของสายการบินไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 13(2), 66–88. https://doi.org/10.14456/jlapsu.2021.4