ผลของโปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถ ในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
คำสำคัญ:
โปรแกรมนันทนาการ, ความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค, ความบกพร่องทางการได้ยินบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการนันทนาการ และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และศึกษาผลของโปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เก็บรวมรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามความต้องการในการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 801 คน ได้มาจากการใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากประชากรนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่ศึกษาในโรงเรียนโสตศึกษาในประเทศ และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน จากโรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสงขลา ที่เข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการจำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการนันทนาการและความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แบบวัดความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและ โปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน วิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการมากที่สุด ได้แก่ การใช้เทคโนโลยี ดนตรีและร้องเพลง ฟังเพลง ประเภทวาดภาพระบายสี ประเภทการท่องเที่ยวและทัศนศึกษา และ งานฝีมือและงานประดิษฐ์ ตามลำดับ และนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( =2.90) นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ที่เข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการเพื่อพัฒนาความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินจำนวน 8 สัปดาห์ พบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีผลคะแนนการประเมินความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในเกณฑ์ระดับน้อย ( = 2.33) และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการใช้เวลาว่าง กลุ่ม ตัวอย่างมีผลคะแนนการประเมินความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง (
= 3.11) และภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค โดยรวมดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก