ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์ในนวนิยายเรื่องป่ากามเทพ ของกฤษณา อโศกสิน

ผู้แต่ง

  • เสนีย์ ชอบงาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • วรรณนะ หนูหมื่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

กฤษณา อโศกสิน, ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์, ป่ากามเทพ

บทคัดย่อ

          บทความชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง การตีความหมายชีวิตในนวนิยายเรื่อง ป่ากามเทพ ของกฤษณา อโศกสิน วัตถุประสงค์การวิจัย คือวิเคราะห์นวนิยายเรื่อง ป่ากามเทพ ในประเด็นการแสดงปัญหาและคุณค่าของมนุษย์ การศึกษาใช้วิธีวรรณคดีวิจารณ์  ผลการศึกษาเสนอด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้แต่งได้แสดงเนื้อหาด้านปัญหาของมนุษย์ที่เป็นประเด็นสำคัญของพฤติกรรมตัวละครใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การถือทิฐิ และปัญหากามารมณ์ 2) ความยากแค้น และความทะยานอยาก 3) ความเปลี่ยวเหงา และการโหยหาความรัก ทั้งนี้ การจำลองประสบการณ์ชีวิตมนุษย์ผ่านปัญหา และข้อจำกัดของชีวิตดังที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องดังกล่าวนี้ ยังเป็นที่มาของทัศนะอีกด้านหนึ่งที่ผู้แต่งได้เน้นย้ำว่า มนุษย์สามารถเอาชนะปัญหาของตน อีกทั้งยังพิสูจน์คุณค่าความเป็นมนุษย์ได้ด้วยการขัดเกลาจิตใจและกมลสันดานของตน ดังข้อค้นพบการแสดงคุณค่าของมนุษย์ผ่านพฤติกรรมของตัวละครสำคัญใน 2 ประเด็นได้แก่ 1) การรู้จักยับยั้งชั่งใจ และความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ 2) การยอมรับความจริงและการกล้าเผชิญปัญหาในชีวิต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

How to Cite

ชอบงาม เ., & หนูหมื่น ว. (2018). ปัญหาและคุณค่าของมนุษย์ในนวนิยายเรื่องป่ากามเทพ ของกฤษณา อโศกสิน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(2), 237–265. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/164101