การสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมด้วยลายจวนตานี

ผู้แต่ง

  • จุรีรัตน์ บัวแก้ว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม, ลายจวนตานี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมโดยใช้ลายจวนตานีมาประยุกต์ให้เหมาะกับการปักบนผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  จัดอบรมการปักลายจวนตานีประยุกต์และสัมภาษณ์เชิงลึกกับสมาชิกกลุ่มมุสลิมมะฮ์บุหงาตันหยง ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำลายจวนตานีมาปักลงบนผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม ทำให้ได้ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมรูปแบบใหม่ที่มีลวดลายแตกต่างไปจากลายจวนตานีดั้งเดิม ทั้งนี้เพราะลายจวนตานีมีความละเอียดและมี 3 - 5 สี ส่วนผ้าบาวามีลักษณะบางเบา จึงต้องปรับลายจวนตานีให้มีขนาดเล็กและลดความซับซ้อนของลวดลาย ใช้สีของด้ายในการปักน้อยลงเพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคที่ต้องการลวดลายขนาดเล็ก สีสันกลมกลืนกับผืนผ้าที่ปักและใช้สวมใส่กับเครื่องแต่งกายได้หลายชุด ถึงแม้ว่าผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมรูปแบบใหม่นี้ไม่สามารถปักลายจวนตานีได้เหมือนต้นแบบก็ตาม แต่ทำให้กลุ่มผลิตผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ซื้อมากขึ้น และสามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกปักผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

How to Cite

บัวแก้ว จ. (2018). การสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าคลุมผมสตรีมุสลิมด้วยลายจวนตานี. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 10(2), 137–155. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/164075