การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ชายแดนภาคใต้: กรณีวัดชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของชุมชน, การอนุรักษ์, ศิลปวัฒนธรรม, วัดชลธาราสิงเหบทคัดย่อ
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม กรณีวัดชลธาราสิงเห ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม โดยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นพระสงฆ์ ชาวบ้านในชุมชน และนักวิชาการท้องถิ่นรวม 14 คน โดยเลือกแบบเจาะจง นำข้อมูลมาตรวจสอบสามเส้าและสร้างบทสรุปโดยพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนตัดสินใจ เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงอาคารโบราณสถานน้อย ชุมชนมีส่วนร่วมวางแผนมากในการสร้างใหม่ที่สืบสานศิลปะไทย โดยคิดร่วมกันระหว่างช่างท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน ด้านปฏิบัติการชุมชนมีส่วนร่วมทั้งทางตรงและทางอ้อม ปฏิบัติการทางตรงโดยวิธีสร้างพุทธศิลป์ไทยขึ้นใหม่
และซ่อมบำรุงศิลป์นอกเขตโบราณสถาน โดยระดมเงิน วัสดุและแรงงานจากผู้ศรัทธา การซ่อมบำรุงโบราณสถานชุมชนมีส่วนร่วมน้อย ชุมชนต้องการร่วมซ่อมบำรุงแต่มีเงื่อนไขของรัฐ ทางอ้อมโดยวิธีการเผยแพร่ความรู้ เฝ้าดูแล รักษาสิ่งแวดล้อมด้านผลประโยชน์จากการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ ทำให้ชุมชนมีเครือข่ายทางสังคมกับผู้ชมโบราณสถานของวัด มีรายได้จากการบริการนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมีเฉพาะคนรับจ้างรัฐและผู้ร่วมโครงการท่องเที่ยวชุมชน ผลประโยชน์มีไม่มากเนื่องจากนักท่องเที่ยวชมวัดมีน้อยจากปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ การมีส่วนร่วมด้านประเมินผลผู้รู้ศิลปะในชุมชนและเจ้าอาวาสเป็นคนประเมิน โดยเปรียบเทียบสภาพโบราณวัตถุและลวดลายตกแต่งก่อนหลังซ่อมแซม ผลการประเมินสะท้อนถึงระดับความเชื่อมั่นในงานซ่อมบำรุงของรัฐ เหตุนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการอนุรักษ์จึงควรสร้างความเข้าใจแก่ชุมชม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก