กลวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ: การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เป็นมุสลิมและนักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิม
คำสำคัญ:
กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ, ผู้มีความสามารถสูง, ผู้มีความสามารถต่ำ, นักเรียนมุสลิม, นักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีภาษาแม่ต่างกัน คือ นักเรียนมุสลิมที่มีภาษาแม่เป็นภาษามลายูและนักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิมที่มีภาษาแม่เป็นภาษาไทย งานวิจัยนี้ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 424 คน แบ่งเป็นนักเรียนมุสลิมที่มีคะแนนสูงจำนวน 209 คน และต่ำจำนวน 101 คน และนักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิมที่มีคะแนนสูงจำนวน 59 คน และต่ำจำนวน 55 คน โดยใช้คะแนน O-NET ในวิชาภาษาอังกฤษเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 2 ชนิด คือ แบบสอบถาม Strategies Inventory for Language Learning (SILL) version 7.0 และการสัมภาษณ์กลุ่ม ผลที่ได้พบว่า นักเรียนในกลุ่มวิจัยเป็นผู้ใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาในระดับปานกลางและ นักเรียนที่มีคะแนนสูงทั้งสองกลุ่มใช้กลยุทธ์โดยรวมมากกว่านักเรียนที่มีคะแนนต่ำกว่า นักเรียนกลุ่มที่มีคะแนนสูงทั้งมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมมีการใช้ indirect strategies มากกว่า direct strategies และไม่พบความแตกต่างของระดับการใช้ ทั้งสองกลุ่มใช้ metacognitive มากที่สุด อย่างไรก็ตามกลุ่มนักเรียนมุสลิมที่มีคะแนนสูงใช้ memory และ social strategies มากกว่ากลุ่มที่ไมใช่มุสลิมอย่างมีนัยสำคัญ ผลแบบเดียวกันนี้ปรากฏเมื่อเปรียบเทียบนักเรียนที่มีคะแนนต่ำระหว่างกลุ่มนักเรียนมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมยกเว้นประเด็นการใช้ metacognitive ซึ่งนักเรียนมุสลิมระบุการใช้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ จากผลการวิจัยอาจกล่าวได้ว่านักเรียนทั้งหมดมีแนวโน้มที่จะใช้ indirect strategies (metacognitive, affective, social strategies) และหลีกเลี่ยงการใช้กลยุทธ์ทีซับซ้อน นักเรียนมุสลิมใช้กลยุทธ์แบบท่องจำ ในการเรียนรู้ภาษา ในขณะที่นักเรียนที่ไม่ใช่มุสลิมมักใช้ social strategy
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก