การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • 1. เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ และ บทวิจารณ์หนังสือ ในด้านภาษาและการจัดการศึกษาภาษา วัฒนธรรมศึกษา และสังคมศาสตร์ ที่ไม่ได้รับการเผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างกระบวนการพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  • เอกสารที่นำส่งต้องเปิดได้ใน Microsoft Word ผู้เขียนสามารถเข้าถึงเอกสาร Template และ แบบฟอร์มนำส่งบทความ
    เพื่อดาวโหลดได้, กรุณาเลื่อนลง
  • URLs และ DOIs ควรมีอยู่ในเอกสารอ้างอิง ตามความสามารถในการดำเนินการได้
  • ต้นฉบับต้องปฏิบัติตามลักษณะและแนวทางของบรรณานุกรม ตามคำแนะนำผู้เขียนซึ่งสามารถค้นหาได้ในหน้าเวปไซต์วารสาร
  • กองบรรณาธิการจะเป็นฝ่ายดำเนินการปกปิดข้อมูลส่วนนตัวของผู้เขียนก่อนเข้ากระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรณีที่ผู้เขียนส่งต้นฉบับแก้ไขหลังจากได้รับการประเมินแล้ว ผู้เขียนจะต้องรับผิดชอบเป็นฝ่ายดำเนินการปกปิดข้อมูลดังกล่าวด้วยตนเอง (หน่วยงาน, แหล่งทุน เป็นต้น)
  • 2. เกี่ยวกับการเผยแพร่ต้นฉบับ
    ต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาไทยต้องผ่านกระบวนการกลั่นกรองต้นฉบับจากบรรณาธิการก่อนส่งเข้ากระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
  • 2.1 ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
    2.1.1 ในกระบวนการกลั่นกรองต้นฉบับภาษาอังกฤษ ผู้เขียนต้องแนบใบรับรองการตรวจสอบภาษาอังกฤษเมื่อบรรณาธิการร้องขอ
    2.1.2 หลังกระบวนการประเมินต้นฉบับ ผู้เขียนต้องแนบใบรับรองการตรวจสอบภาษาจากผู้เชี่ยวชาญเมื่อผู้เขียนส่งต้นฉบับแก้ไขให้กองบรรณาธิการพิจารณาเผยแพร่
  • 2.2 ต้นฉบับภาษาไทย
    2.2.1 ต้นฉบับที่เขียน ภาษาไทยจะต้องดำเนินการแปลเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อได้รับการรับรองจากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการให้เผยแพร่เท่านั้น ไม่เช่นนั้น กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิไม่ออกหนังสือตอบรับ หรือ สงวนสิทธิในการเผยแพร่ต้นฉบับดังกล่าว
    2.2.2 กระบวนการแปลต้นฉบับจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเป็นความรับผิดขอบผู้เขียน ผู้เขียนต้องแนบไฟล์ใบรับรองการแปลต้นฉบับสำหรับการพิจารณาตีพิมพ์โดยกองบรรณาธิการ
  • 3. ต้องแสดงหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์ในกรณีที่มีการใช้ผลงานที่ไม่เข้าข่ายการใช้ประโยชน์โดยชอบธรรม
  • 4. ข้อความในบทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาดตัวอักษร 12 โดยใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.15 และความยาวต้นฉบับ บทความวิจัย 5,000-7,000 คำ บทความปริทัศน์/บทความวิชาการ 4,000 คำ และบทความวิจารณ์หนังสือ 1,500 คำ รวมเอกสารอ้างอิง ในกรณีต้นฉบับเป็นภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15
  • 5. ใช้การอ้างอิงตามแบบ APA 7th edition. (การอ้างอิงในต้นฉบับภาษาไทยต้องเป็นภาษาอังกฤษ)

คำแนะนำผู้แต่ง

การส่งต้นฉบับเพื่อพิจารณาในวารสารศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

หมายเหตุ: นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 วารสารฯ มีการเก็บค่าธรรมเนียม 2,000 บาท โดยผู้เขียนจะชำระเงินหลังจากบรรณาธิการตอบรับต้นฉบับเข้ากระบวนการประเมินคุณภาพเรียบร้อยแล้ว

เฉพาะบุคลากรคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 

การเตรียมต้นฉบับ
กองบรรณาธิการจะรับพิจารณากลั่นกรองเฉพาะต้นฉบับที่เป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้

1.ต้นฉบับ
1.1 เป็นบทความวิจัย/บทความปริทัศน์/บทวิจารณ์หนังสือซึ่งมีเนื้อหาในขอบข่ายด้านภาษาและการจัดการศึกษาภาษา วัฒนธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในที่ใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาการตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ
1.2 เขียนต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ หรือ หากต้นฉบับเป็นภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษภายหลังจากที่ได้รับการพิจารณาจากกองบรรณาธิการให้เผยแพร่ได้  ทั้งนี้ผู้เขียนจะได้จดหมายตอบรับการเผยแพร่ในวารสารฯได้ ก็ต่อเมื่อบทความผ่านการแปลเป็นภาษาอังกฤษที่ถูกต้องเรียบร้อยแล้วเท่านั้น 
1.3 ในกรณีที่มีการใช้ผลงานที่ไม่เข้าข่ายการใช้ประโยชน์โดยชอบธรรมต้องแสดงหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
1.4 บทความพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word ขนาด A4 ใช้รูปแบบตัวอักษร Times New Roman ขนาดตัวอักษร 12 โดยใช้ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.15 และความยาวต้นฉบับ บทความวิจัย 5,000-7,000 คำ บทความปริทัศน์/บทความวิชาการ 4,000 คำ และบทความวิจารณ์หนังสือ 1,500 คำ รวมเอกสารอ้างอิง ในกรณีที่ต้นฉบับเป็นภาษาไทยให้ใช้รูปแบบตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 16
2.ชื่อเรื่อง ควรกระชับและสอดคล้องกับเนื้อเรื่อง 
3.ชื่อผู้เขียน
3.1 ระบุชื่อ–นามสกุลจริง ไว้ตรงกลาง ในตำแหน่งใต้วันที่ดำเนินการต้นฉบับหรือใต้ชื่อเรื่อง
3.2 ระบุเชิงอรรถของผู้เขียนประกอบด้วย ต้นสังกัด/หน่วยงาน และ ประเทศ
4.บทคัดย่อ
4.1 ทุกบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ต้องประกอบด้วยบทคัดย่อซึ่งมีจำนวนคำระหว่าง 200-250 คำ
4.2 บทคัดย่อต้องตามด้วยรายการ คำสำคัญ 3-5 คำ
5a เนื้อหาบทความวิจัย (5,000-7,000 คำ) ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
      1) บทนำ 
      2) วัตถุประสงค์หรือคำถามวิจัย
      3) วิธีการศึกษา 
      4) ผลการศึกษา
      5) อภิปรายผล (หรือ ผลการศึกษาและการปภิปราย) 
      6) สรุปผล
      7) ข้อเสนอแนะและการนำไปใช้ (ถ้ามี) 
      8) บรรณานุกรม รูปแบบ APA 7th edition (เพิ่มเลข DOI ให้ครบถ้วน ถ้ามี)
5b. บทความปริทัศน์ หรือ บทความวิชาการ (4,000 คำ)
บทความควรจะมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง ให้มุมมองหรือ องค์ความรู้ใหม่ในเรื่องที่ศึกษาทบทวน โดยครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้ 
    1) บทนำ 
    2) หัวข้อหลัก (นำเสนอสอดคล้องกับหัวเรื่อง)
    3) สรุปผล
    4) บรรณานุกรม รูปแบบ APA 7th edition (เพิ่มเลข DOI ให้ครบถ้วน ถ้ามี)
5c. บทความวิจารณ์หนังสือ (1,500 words)
     1) เนื้อหาวิจารณ์ 
     2) เอกสารอ้างอิง (APA 7th edition)
เกณฑ์การพิจารณาบทความ
1. บรรณาธิการร่วมกับกองบรรณาธิการเป็นผู้พิจารณาในเบื้องต้น
2. ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ 3 ท่าน เป็นผู้พิจารณาเนื้อหาสาระ ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ  และคุณภาพของต้นฉบับ
3. กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับให้กับเจ้าของบทความ (ในกรณีที่กองบรรณาธิการตอบรับต้นฉบับเพื่อการเผยแพร่เรียบร้อยแล้ว)
4. ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ขอสงวนสิทธิ์ในการเป็นผู้ตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรกการส่งต้นฉบับ
ส่งต้นฉบับบทความพร้อมกับหนังสือปะหน้าการส่งบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 1 ชุด  รวมทั้งส่ง File ข้อมูล  *.docx ผ่านระบบ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/submission/wizard
รายละเอียดตัวอักษรและการเผยแพร่
1. ตัวอักษร Times New Roman ขนาดตัวอักษร 12
2. ระยะห่างระหว่างบรรทัด 1.15
3. ระยะขอบ ดังนี้
    บน 2.54 ซม.                    ล่าง 3 ซม.
    ซ้าย 2.54 ซม.                   ขวา 2.54 ซม.
4.ลักษณะตัวอักษร
5. ดาวน์โหลด แม่แบบต้นฉบับขนาด A4
6.เอกสารอ้างอิง
1. ใช้การอ้างอิงตามแบบ APA 7th โดยให้เป็นฉบับภาษาอังกฤษทั้งหมดโดยผู้เขียนสามารถดาวน์โหลดคู่มือการอ้างอิง APA 7th ได้ที่ Download APA Style 7th Edition Guidelines หรือเข้าถึงจากเว็บไซต์ได้ที่ APA Style 7th Edition Guidelines
หมายเหตุ: ข้อมูลการสัมภาษณ์ เสวนากลุ่ม หรือผู้มีส่วนร่วมในงานวิจัย ขอให้ผู้เขียนละการใส่ข้อมูลการในหัวข้อเอกสารอ้างอิง แต่ขอให้ผู้เขียนเติมข้อมูลการอ้างอิงในเนื้อหา ตามแบบแผนการอ้างอิงดังนี้
ตัวอย่าง
การอ้างอิงแบบเล่าเรื่อง: นักเรียน A (การสื่อสารบุคคล, 9 สิงหาคม 2566)
การอ้างอิงในวงเล็บ: (นักเรียน A, การสื่อสารบุคคล, 9 สิงหาคม 2566)
7.กระบวนการและระยะเวลาในการเผยแพร่ต้นฉบับ see JLA process

เอกสารดาวน์โหลด
1. แบบฟอร์มนำส่งบทความวารสารศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
2. แบบฟอร์มรับรองภาษาอังกฤษ
หมายเหตุ: คุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษา
เป็นเจ้าของภาษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษาชาวไทย ที่มีความสามารถในการเขียนบทความวิชาการ และสามารถเข้าใจบทความของผู้เขียน ถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่มีสังกัด สถาบัน คณะ หรือ มหาวิทยาลัย ผู้เขียนต้องแนบประวัติ (CV) ของผู้เชี่ยวชาญพร้อมใบรับรอง เพื่อให้กองบรรณาธิการพิจารณา

คำแนะนำสำหรับการแก้ไขต้นฉบับ :
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/revision

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.