Praewa: From being an invaluable heritage item to a cultural commodity
Keywords:
Praewa, invaluable heritage item, cultural commodityAbstract
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผ้าไหมให้เป็นสินค้าของที่ระลึกทางการท่องเที่ยว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ใช้แนวคิดอัตลักษณ์และทุนทางวัฒนธรรม แนวคิดเรื่องของที่ระลึก และแนวคิดการทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า เก็บข้อมูลโดย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าของกิจการ ช่างทอผ้า หน่วยงานสนับสนุน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน17คน ในพื้นที่ประเทศไทย กรณีศึกษาแพรวา บ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการศึกษาพบว่า แต่เดิมผ้าแพรวาเป็นผ้าที่หญิงชาวผู้ไทยใช้เบี่ยง (ห่ม) เป็นสไบหรือคลุมไหล่พร้อมกับชุดผู้ไทยคือเสื้อแถบและซิ่นหมี่ ในงานมงคล เช่น งานบวช งานแต่ง การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของผ้าไหมแพรวานั้นมี 2 ลักษณะคือ การสร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแพรวา ในฐานะราชินีไหมไทย เกิดขึ้นเมื่อครั้งการจัดการประกวดผ้าไหม ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนครในทุก ๆ ปี ผ้าไหมแพรวา จึงถูกนิยามเป็นราชินีไหมไทย ด้วยความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้น วิธีการทอยังมีนัยของการเปิด“พื้นที่” การแสดงอัตลักษณ์ท้องถิ่น ทั้งตลาดการค้าและการท่องเที่ยวกลายเป็นพื้นที่ซึ่งอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ถูกแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นสินค้าในการแสดงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น การนำคุณค่าของผ้าไหมแพรวามาสร้างมูลค่าและสร้างความหมายทั้งยังเป็นสิ่งของเตือนความทรงจำในฐานะสินค้าที่ระลึกทางการท่องเที่ยว ทั้งนี้ผ้าแพรวาในฐานะสินค้าวัฒนธรรม ถูกขับเคลื่อนด้วยอิทธิพลของระบบทุนนิยม สังคมและกระแสของการท่องเที่ยว ทำให้ผ้าแพรวาถูกนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันภายใต้บริบทใหม่ในการผลิตใหม่ทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนบ้านโพน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
The authors retain the copyright to their article but the Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University reserves the exclusive rights to first publication.