การวิเคราะห์และประเมินผลต้นทุนลวดลายเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากโบราณสถานมรดกโลกเมืองกำแพงเพชรสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • ธนธรณ์ แจ้งโม้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ลวดลายเอกลักษณ์ , มรดกโลกเมืองกำแพงเพชร , ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม , การวิเคราะห์ต้นทุน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนลวดลายเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากโบราณสถานมรดกโลกเมืองกำแพงเพชรสำหรับการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และ 2) เพื่อประเมินผลการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากการนำลวดลายเอกลักษณ์โบราณสถานมรดกโลกเมืองกำแพงเพชรไปใช้ มีวิธีดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ปราชญ์ชาวบ้าน และนักวิชาการ จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยเรียงตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1) ต้นทุนลวดลายเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์สำหรับการเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมมีต้นทุนในด้านของต้นทุนแรงงาน ต้นทุนค่าออกแบบ และต้นทุนวัตถุดิบตามลำดับ
2) การประเมินผลการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมจากการนำลวดลายเอกลักษณ์โบราณสถานมรดกโลกเมืองกำแพงเพชรไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านของการช่วยส่งเสริมเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร เกิดประโยชน์ในด้านของการช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรม และทำให้มีรายได้จากการนำลวดลายเอกลักษณ์โบราณสถานมรดกโลกมาใช้

References

กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์. (2558). พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558. สืบค้น 13 มีนาคม 2564, จาก http://www.thaimediafund.or.th/page/view/24/

กุลจิต เส็งนา. (2564). การออกแบบผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นกับลวดลายวัฒนธรรมเขมรในอีสาน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 10(1), 73-91.

ชาญศักดิ์ ตั้งสันติกุลานนท์. (2560). การคำนวณต้นทุนการผลิต. สืบค้น 2 มกราคม 2564, จาก http://fishtech.rmutsv.ac.th/fishtech/sites/default/files/files/2557/56/%201.0.3-4-01.pdf.

ฐานข้อมูลท้องถิ่นกำแพงเพชร-ตาก. (2564). เฉลิมฉลอง 504 ปี พระอิศวร เมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 2 มกราคม 2564, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1284&code_db=610001&code_type=01.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นงค์นุช กลิ่นพิกุล นารีรัตน์ อบเชย ปาณิศา เจริญสุข. (2562). การออกแบบผลิตภัณฑ์ประกอบเครื่องแต่งกายโดยใช้อัตลักษณ์จากเรือกอและ. วารสาร สจล.ชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1-2), 8-14.

นิติพล ธาระรูป ปรัชญา พิระตระกูล และกมลศิริ วงศ์หมึก. (2564). เมืองมรดกโลกกับการสร้างอัตลักษณ์ด้วยทุนทางวัฒนธรรมในธุรกิจสปา. วารสารปัญญาภิวัฒน, 13(1), 92-103.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2541). ชุมชนเข้มแข็งทุนทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม.

ประเวศ วะสี. (2541). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

สำนักงานกองทุนเพื่อสังคม. (2543). แผนชุมชนพึ่งตนเอง. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2561). อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. สืบค้น 4 มกราคม 2564, จาก https://kamphaengphet.mots.go.th/news_view.php?nid=420.

อริสรา ไวยเจริญ. (2558). การโฆษณากับพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจ บัณฑิตย์, 9(1), 11 – 35.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

How to Cite