การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

คำแนะนำผู้แต่ง

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  •  ผลงานที่ส่งตีพิมพ์จะต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่าง การพิจารณาของวารสารอื่น การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง
  •  ต้นฉบับที่ส่งตีพิมพ์ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษเท่านั้น
  •  วารสารฯ รับตีพิมพ์บทความวิชาการ (Academic Article) และบทความวิจัย (Research Article) ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
  •  ต้นฉบับต้องผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ
  •  ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
  •  เป็นบทความในสาขาสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ การบัญชี การตลาด การจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจการค้าสมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ การท่องเที่ยวและบริการ นิเทศศาสตร์  และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

คำแนะนำสำหรับผู้ประสงค์ส่งบทความลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

    วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม  เป็นวารสารเพื่อให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่เนื้อหาเชิงวิทยาการจัดการในสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ การบัญชี การตลาด การจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจการค้าสมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ การท่องเที่ยวและบริการ นิเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง  เพื่อให้นักวิจัยและเจ้าของผลงานนิพนธ์สามารถเตรียมต้นฉบับได้ถูกต้อง และได้มาตรฐานตามรูปแบบของวารสาร จึงขอชี้แจงดังนี้

 ข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาบทความ

1. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้ส่งบทความทราบ เมื่อกองบรรณาธิการได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว
2. กองบรรณาธิการจะตรวจสอบหัวข้อและเนื้อหาของบทความถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของวารสารฯ รวมถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ
3. ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้พิจารณาตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะส่งบทความเพื่อทำการกลั่นกลองต่อไป โดยจะส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทความว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะลงตีพิมพ์หรือไม่ โดยในกระบวนการพิจารณากลั่นกรองนี้ เป็นการประเมินบทความแบบสองทาง (Double-Blind Process) กล่าวคือ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิทราบและจะไม่เปิดเผยชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้ส่งบทความทราบ และกองบรรณาธิการจะไม่เปิดเผยทั้งชื่อผู้ส่งบทความและชื่อผู้ทรงคุณวุฒิให้บุคคลอื่นทราบด้วยเช่นกัน
4. เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองบทความแล้ว กองบรรณาธิการจะตัดสินใจโดยอิงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิว่าบทความนั้น ๆ ควรได้รับการตีพิมพ์หรือควรส่งกลับให้กับผู้ส่งบทความเพื่อแก้ไขก่อนพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง หรือปฏิเสธการลงตีพิมพ์
5. ผู้วิจัยต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนดและผู้วิจัยต้องยินยอมให้บรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
6. การอนุมัติให้ลงตีพิมพ์ได้หรือไม่นั้น ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด

ขั้นตอนการส่งต้นฉบับ

1. แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารฯ ผู้ส่งบทความต้องลงนาม
2. ให้ผู้วิจัยส่งต้นฉบับบทความไฟล์ Word และ PDF พร้อม Scan  แบบฟอร์มเสนอบทความเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารฯ  ส่งมาที่กองบรรณาธิการทางระบบ Thaijo เว็บไซต์  https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/index เท่านั้น
3. คลิกเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร

ขั้นตอนการดำเนินงานภายหลังรับต้นฉบับบทความ

1. กองบรรณาธิการวารสารตรวจสอบบทความเบื้องต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) พิจารณาบทความ หากพบว่าเนื้อหาไม่ผ่านการพิจารณา (ปฏิเสธการตีพิมพ์) ของผู้ทรงคุณวุฒิ ทางกองบรรณาธิการจะส่งคืนต้นฉบับให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนผลงานที่สามารถปรับปรุงแก้ไขได้ ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งสิ่งที่ต้องปรับแก้ไขให้ผู้วิจัยทราบ เพื่อทำการแก้ไขจนกว่าบทความจะมีความสมบูรณ์
2. บทความที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ได้รับการยืนยันให้ตีพิมพ์ได้แล้วนั้น จะเข้าสู่การพิจารณาโดยกองบรรณาธิการวารสารเป็นขั้นตอนสุดท้าย บทความบางเรื่องอาจไม่ได้รับการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการวารสารถือเป็นที่สิ้นสุด
3. กองบรรณาธิการวารสารแจ้งตอบรับบทความให้ผู้วิจัยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมระบุฉบับที่ลงตีพิมพ์

การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

1. ความยาวของบทความไม่เกิน 15 หน้ากระดาษ ขนาด B5 (JIS) พิมพ์หน้าเดียว (นับรวมรูปภาพ ตาราง และเอกสารอ้างอิง) พื้นที่ของกระดาษที่ใช้พิมพ์ ให้เว้นขอบบน 2.54 เซนติเมตร ขอบล่าง 1 เซนติเมตร ขอบซ้าย 2 เซนติเมตร และขอบขวา 2 เซนติเมตร
2. รูปแบบตัวอักษร ให้จัดพิมพ์ด้วยแบบตัวอักษร TH Sarabun New  เท่านั้น
3. ชื่อเรื่องบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 pt. (ตัวหนา) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ
4. ชื่อผู้เขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดขวา
5. ชื่อสังกัดหน่วยงานหรือมหาวิทยาลัยภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และ Corresponding Author, E-mail: ขนาดตัวอักษร 12 pt. (ตัวอักษรปกติ) จัดชิดซ้าย
6. หัวข้อ ได้แก่ บทคัดย่อ Abstract บทนำ วัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดในการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ เอกสารอ้างอิง ขนาดตัวอักษร 16 pt. (ตัวหนา) จัดชิดซ้าย ไม่ใส่เลขลำดับที่
7. การใช้เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ทวิภาค ( : ) และอัฒภาค ( ; ) ให้พิมพ์ต่อเนื่องกับอักษรตัวหน้า และเว้น 1 วรรคตัวอักษรก่อนข้อความต่อไป เช่น  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เธียรศรี วิวิธสิริ, 2527: 32-38; นวลละออ สุภาผล, 2527)
8. ชื่อภาพ ขนาดตัวอักษร 14 pt. (ตัวหนา) ให้ระบุไว้ใต้ภาพ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใต้ภาพ เช่น ภาพ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
9. รายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ต้องเติมคำว่า “(in Thai)” ต่อท้าย ทุกรายการของเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ 

การเขียนเอกสารอ้างอิง

เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือ หรืออินเตอร์เน็ตก็ได้ ทั้งนี้ผู้นิพนธ์เป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด ในการเขียนเอกสารอ้างอิงใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA, 6th Edition) โดยเนื้อหาเอกสารอ้างอิงแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้  รายละเอียดเพิ่มเติม 

นโยบายส่วนบุคคล

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.