แนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของซอฟต์พาวเวอร์ ด้านอาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ซอฟต์พาวเวอร์, อาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุโขทัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารพื้นถิ่นจังหวัดสุโขทัย ของนักท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาประสบการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยของนักท่องเที่ยวชาวไทย และ 3) เสนอแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของซอฟต์พาวเวอร์ ด้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดสุโขทัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจาก Tourist Vlog จำนวน 30 Vlogs และแบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัย จำนวน 400 ชุด โดยวิเคราะห์ด้วยเทคนิค SWOT Analysis และ TOWS Matrix เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกเพื่อหาแนวทางส่งเสริมการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดสุโขทัย
ผลการศึกษาพบว่า การรับรู้ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารพื้นถิ่น จังหวัดสุโขทัย ของนักท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1) ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย 2) ผัดไทยสุโขทัย 3) ข้าวเปิ๊บหรือก๋วยเตี๋ยวพระร่วง 4) ขนมเบื้องสุโขทัย 5) ราดหน้าใส่ซอสพริก มีประสบการณ์การท่องเที่ยวในจังหวัดสุโขทัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นมากที่สุดคือ ด้านสื่อออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดสุโขทัยผ่าน (Facebook, YouTube, TikTok) ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 และน้อยที่สุดคือ ด้านที่สามารถเข้าถึงกิจกรรมการประกอบอาหารพื้นถิ่น ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2563). ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3). สืบค้น 17 มีนาคม 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/int_protection.php
กฤษมาพร พึ่งโพธิ์, และสวัสดิ์ วรรณรัตน์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวังในคุณภาพบริการของอุตสาหกรรมบริการ. Parichart Journal, Thaksin University, 23(2), 121-131.
ธนาคารกรุงไทย. (2563). Economic Outlook 2020. สืบค้น 17 มีนาคม 2565, จาก https://krungthai.com/th/krungthai-update/news-detail/492
ฐิตาภา บำรุงศิลป์, รัตนะ ทิพย์สมบัติ, ขัติยาภรณ์ มณีชัย, ชญานี วีระมน, ทิวาทิพย์ บาศรี, อนงค์นาฏ โอมประพันธ์, กชนิภา จันทร์เทศ, และรัชนีกร งีสันเทียะ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวชุมชนบ้านวังรี จังหวัดนครนายก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 3(3), 1-14. สืบค้น 30 มีนาคม 2565, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/254977.
นครินทร์ วนกิจไพบูลย์. (2563). ท่องเที่ยวไทย 2562 ยังไหวไหม ธุรกิจไทยควรปรับตัวอย่างไร. สืบค้น 17 มีนาคม 2565, จาก https://youtu.be/sTzVlA6ImMU
โพสทูเดย์. (2563). คอลัมน์ ทันเศรษฐกิจ. สืบค้น 17 มีนาคม 2565, จากhttps://www.posttoday.com/world
สัมภาษณ์พิเศษ: “ดอน ปรมัตถ์วินัย” เจ้ากระทรวงบัวแก้ว กับ “Soft Power Diplomacy” ที่พาไทยเป็นที่ยอมรับทั่วโลก. (2560). สยามรัฐออนไลน์. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก http://www.siamrath.co.th/n/17238
Blumberg, B. C., Cooper, D. D. and Schindler, D. (2008). Business research methods. London: McGraw-Hill.
Cole,S., & scott. D. (2004). Examining the mediating role of expenence quality in a model of tourist experiences. Journal of Travel & Tourism Marketing, 16(1), 79-90.
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2016). Gastronomy Tourism. Bangkok: Office of the Prime Minister.
Du Rand, G.E., Heath, E. and Alberts, N. (2003). The Role of Local and Regional Food in Destination Marketing: A South African Situation Analysis. Journal of Travel and Tourism Marketing, 14, 37-112. Retrieved March 16, 2022, from https://doi.org/10.1300/J073v14n03_06
Heney, J. (1994). Projects for the EFL classroom: Resource material for teachers. Walton-on-Thames Surrey UK: Nelson.
Hug, S. (2019). Soft-power, culturalism and developing economies: the case of Global Ibsen. Palgrave Commun, 5(48), 1-9.
Retrieved March 15, 2022, from https://doi.org/10.1057/s41599-019-0255-4.
International Culinary Tourism Association. (2006). What is food tourism?. Retrieved March 15, 2022, from http://www.worldfoodtravel.org/what-is-food-tourism.
Nye, J. S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. PublicAffairs.
Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: A Multiple-Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 16(1), 12-37.
U.S. News. (2016). U.S. News Best Countries. Retrieved March 15, 2022, from https://www.usnews.com/news/best-countries/Thailand.
World Health Organization. (2020). Coronavirus disease Situation dashboard. Retrieved March 16, 2022, from https://covid19.who.int/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง