การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านวังรี จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ฐิตาภา บำรุงศิลป์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเษม
  • รัตนะ ทิพย์สมบัติ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ขัติยาภรณ์ มณีชัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ชญานี วีระมน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • ทิวาทิพย์ บาศรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • อนงค์นาฏ โอมประพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • กชนิภา จันทร์เทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • รัชนีกร งีสันเทียะ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ศักยภาพการท่องเที่ยว, ชุมชนบ้านวังรี, การท่องเที่ยวชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวและการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังรี ตำบล เขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การสัมภาษณ์กลุ่ม หน่วยงานภาครัฐ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ผลิตและ ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านวังรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการศึกษาพบว่า 1) ชุมชนมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวใน 6 ด้าน คือ 1. ด้านสิ่งดึงดูดใจ คือ สิ่งดึงดูดใจด้านธรรมชาติ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 2. ด้านความสามารถการเข้าถึง ชุมชนสามารถเดินทางโดยทางบก รถยนต์ส่วนตัว รถตู้โดยสาร 3. ด้านการบริการที่พัก ชุมชนมีบริการห้องพักทั้งรีสอร์ท และโฮมสเตย์ 4. ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว ชุมชนบ้านวังรีมีกิจกรรมที่หลากหลาย 5. ชุมชนมีความพร้อมด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการนักท่องเที่ยว และ 6. ชุมชนมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของกิจกรรมการท่องเที่ยวร่วมกัน และ 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านวังรีในการพัฒนาการท่องเที่ยว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ได้แก่ การดำเนินการและการปฏิบัติการ รองลงมา คือ เสนอความคิด วางแผนและตัดสินใจ ในการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว การได้รับผลประโยชน์ในการจัดการแหล่ง ท่องเที่ยวการติดตามและประเมินผลในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). ชุมชนบ้านวังรี. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.cdd.go.th/wpcontent uploads/sites/110/.2018/07/ชุมชนบ้านวังรี_นครนายก.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เขมิกา ธีรพงษ์. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมด้วยการออกแบบประสบการณ์. ศิลปกรรมสาร, 13(1), 3-15.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2557). หลักการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยนุวัฒน์ ปูนคำปีน และชัยพงษ์ สำเนียง. (2563). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community – Based Tourism) การสร้าง ขยายเศรษฐกิจและวิถีชีวิตท้องถิ่น. สืบค้น 19 พฤศจิกายน 2564, จาก https://prachatai.com/journal/2012/04/39979

เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ. (2556). รายงานการวิจัยการพัฒนาคุณภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: คลังปัญญา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยสาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Shirley, E. (1992). My travels around the world. Newton Aycliffe, UK: Heinemann.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

How to Cite