ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) กับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตอิออน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ส่วนประสมการตลาดบริการ, กระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) กับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตอิออน ของผู้ถือบัตรเครดิตอิออนจำนวน 400 คน ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตอิออน และการวิเคราะห์คำถามปลายเปิด พบว่า ผู้ใช้บัตรเครดิตมีความคาดหวังในความสะดวกรวดเร็วและความถูกต้องในการให้บริการ ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้ คือ ผู้ประกอบการจึงควรนำเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสาร และพัฒนาระบบการให้บริการเพื่อสร้างกระบวนการที่รวดเร็วและมีประสิทธิผล รวมทั้งยังสามารถปรับวิธีการให้บริการให้หลากหลายตามความต้องการของผู้บริโภค เช่น การใช้บริการบัตรเครดิตอิออนในต่างประเทศ หรืออาจปรับความหลากหลายของช่องทางในการขอใช้บริการด้วยการสมัครผ่านระบบออนไลน์
References
ฉัตรชาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ; เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ทะนงศักดิ์ จิรวัฒนวิจิตร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บัตรเครดิตของลูกค้า ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ภาคกลางสาม สมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อิออน ธนทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), (2559). รายงานประจำปี 2557/2558. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2559 จาก http://aeontsth.listedcompany.com/
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation, and Control. (9th ed). New Jersey: Asimon &Schuster.
Zeithaml, V. A., Bitner, M. J., & Gremler, D. D. (2006). Services Marketing: Integrating Customer Focus Across the Firm. (5th ed). Boston: McGraw Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง