รูปแบบการวิเคราะห์อิทธิพลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน

ผู้แต่ง

  • วิทวัช น้อมบุญส่งศรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • รุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ทฤษฎีเกี่ยวกับแบบจำลองการวัดความพึงพอใจของลูกค้า , แรงจูงใจ, การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคาดหวังของลูกค้า การรับรู้คุณภาพ การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน (2) วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน (3) วิเคราะห์อิทธิพลของความพึงพอใจและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน (4) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก จำนวน 523 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคาดหวังของลูกค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการรับรู้คุณภาพของผลิตภัณฑ์และการรับรู้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน ในขณะที่ความคาดหวังของลูกค้าไม่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน (2) การรับรู้คุณภาพของผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลทางอ้อมผ่าน การรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน ในขณะที่ความคาดหวังของลูกค้าและการรับรู้คุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน (3) ความพึงพอใจและแรงจูงใจมีอิทธิพลทางตรงต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคอลลาเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (4) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างความพึงพอใจกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่า c2= 179.887 ค่า c2 /df = .957 ค่า p-value = .652 ค่า GFI = 0.971 และค่า RMSEA = 0.000 ดังนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับความคาดหวังของลูกค้าต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าเช่นเดียวกับแรงจูงใจ และจะนำไปสู่การตัดสินใจซื้อได้

References

กรวิการ์ แสนหาญ สัมพันธ์ จันทร์ดี และเกียรติศักดิ์ สมัครสมาน. (2560). เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการตัดสินใจของผู้เข้าใช้บริการกาแฟพรีเมี่ยมในเขตกรุงเทพมหานครด้วยแบบจำลอง ASCI. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat Univesity, 9(3), 59-64.

จุฑารัตน์ จั่นจินดา. (2559). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าและบริการของร้านกาแฟสตาร์บัคส์และร้านทัม เอ็น ทัมส์ คอฟฟี่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์]

http://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/937/fulltext_is_08.pdf?sequence=1&isAllowed=y

จุติพร ดำสงค์. (2560). แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้ออาหารประเภทฟู้ดทรัคในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ชาญณรงค์ เลาหวรรณธนะ. (2562). การศึกษาคุณภาพการบริการกับความพึงพอใจตามแบบจำลอง ACSI. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม

ฐานเศรษฐกิจ. (2564, 18 ตุลาคม). ตลาด “คอลลาเจน” แข่งดุ เข้าสู่ยุคคัดตัวจริง. [บทความ]. https://www.thansettakij.com/insights/499695

นภาพร สูนาสวน. (2559). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและบริการของร้านเซเว่น อีเลฟเว่นและร้านแฟมิลี่มาร์ทในจังหวัดนครปฐม. [การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์] https://repository.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/954/fulltext_is_24.pdf?sequence=1&isAllowed=y

ปรารถนา อุดมอานุภาพสุข และบุญญสิทธิ์ วรจันทร์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องยนต์ดีเซลเล็กของเกษตรกร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2562 : 37(1) : 51-60

วรันพร นางาน. (2561). อิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำอาหารคลีนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี. (2561). แนวโน้มธุรกิจอาหารเสริม ในยุคออนไลน์ครองเมือง. https://media.tmbbank.com/uploads/analytics_industry/file/media/523_file_th.pdf?180514014202

สิทธิชัย โจมสว่าง. (2563). การศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

สิทธิชัย บุษหมั่น และคณะ. (2562). การศึกษาความพึงพอใจต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางบนสื่อออนไลน์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5(1), 104-112

หทัยทิพย์ แดงปทิว. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ทัศนคติและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อผิวขาวของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ACSI LLC. American Customer Satisfaction Index. [ออนไลน์]. http://www.theacsi.org/about-acsi/the-science-of-customer-satisfaction

SGE CHEM. (2021). คอลลาเจนคืออะไร กินอย่างไรถึงได้ผล. [ออนไลน์]. https://sgechem.com/articles/คอลลาเจน-คืออะไร-กินอย่/

Blair. (1996). The under treatment of anxiety: overcoming the confusion and stigma. Journal of Psychosocial Nursing, (34), pp. 341 – 352.

Fornell, C., Johnson, M. D., Anderson, E. W., Cha, J., & Bryant, B. E. (1996). The American customer satisfaction index: Nature, purpose, and findings. Journal of marketing, 60(4), 7-18.

Hawkins, D., & Mothersbaugh, D.(2013). Consumer behavior: Building marketing strategy (12nd ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.

Hawkins, D. I., Mothersbaugh, D. L., & Mookerjee, A. (2010). Consumer Behavior: Building Marketing Strategy (11th ed). New Delhi: Tata McGraw Hill.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. (10th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2006). Marketing Management (12th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Overby, J. W., & Lee, E. J. (2006). The effects of utilitarian and hedonic online shopping value on consumer preference and intentions. Journal of Business Research, 59(10/11), 1160-1166.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1985). A conceptual model of service quality and its implications for future research. Journal of Marketing, 49(4): 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., and Berry, L. L. (1988). “SERVQUAL: A Multi-item Scale forMeasuring Consumer Perception of Service Quality.”Journal of Retailing. 64 (1): 12-40.

Taghipour, A., & Dejban, R. (2013). Job performance: Mediate mechanism of work motivation. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 84, 1601-1605.

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality and value: A means end model and synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52, pp.2–22.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22