โอกาสในการล้มละลายที่มีผลต่ออัตราส่วนทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยจากการแพร่ระบาดของโรคโคโรนา-2019

ผู้แต่ง

  • กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • วิชุดา สมงาม สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ชิดชญา จันทเพ็ชร์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • อุภาวดี เนื่องวรรณะ บริษัท มาสเตอร์ แปลน 101 จำกัด ประเทศไทย

คำสำคัญ:

โอกาสในการล้มละลาย , อัตราส่วนทางการเงิน , เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสในการล้มละลายทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษาโอกาสในการล้มละลายตามแบบจำลอง Altman EM-Score Model และ Altman Z-Score Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562-2564 รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน, รายงานประจำปี (แบบ 56-1) จำนวน 228 บริษัท จากประชากรจำนวน 530 บริษัท ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่าโอกาสในการล้มละลายตามแบบจำลอง Altman EM-Score Model & Altman Z-Score Model สามารถพยากรณ์อัตราส่วนทางการเงินด้านอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (D/E) ได้ร้อยละ 13.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแบบจำลอง Altman EM-Score Model & Altman Z-Score Model สามารถพยากรณ์อัตราส่วนทางการเงินด้านอัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (TAT) ได้ร้อยละ 3.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาโดยละเอียดจะพบว่าในว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโคโรนา-2019 โอกาสในการล้มละลายตามแบบจำลอง Altman Z-Score Model ยังคงมีอิทธิพลในทิศทางลบต่ออัตราส่วนทางการเงินเช่นผลการศึกษาในอดีตที่ผ่านมา ในขณะที่การศึกษาโอกาสในการล้มละลายตามแบบจำลอง Altman EM-Score Model มีอิทธิพลในทิศทางบวกซึ่งมีความแตกต่างจากการศึกษาในอดีต

References

เกรียงไกร บุญเลิศอุทัย, อนุวัฒน์ ภักดี และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2562). ผลกระทบของคะแนนการกำกับดูแลกิจการและคุณลักษณะคณะกรรมการบริษัทต่อความทันเวลาของงบการเงิน. วารสารวิชาชีพบัญชี, 15(48), 5-30.

ณิภาวรรณ ชุ่มวงศ์. (2564). การพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ในเขตสหกรณ์พื้นที่ 7. (ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก: https://classic.set.or.th/th/market/market_statistics.html.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). สรุปจำนวนหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน. เข้าถึงได้จาก. https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ผลกระทบวิกฤติโควิด 19 กับเศรษฐกิจโลก This Time is Different. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256302TheKnowledge_ ThisTimeisDifferent.aspx.

ศศินภา กันตะนา. (2564). การวิเคราะห์การล้มละลายทางการเงิน กรณีศึกษากลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ปี 2558-2562). (การค้นคว้าอิสระ). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

สัตตกมล ตันติวังไพศาล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสในการล้มละลายกับคุณภาพกำไร. (วิทยานิพนธ์). บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

Altman, E. (1968). Financial Ratios, Discriminant Analysis and the Prediction of Corporate Bankruptcy. The Journal of Finance, 23(4), 589-609.

Altman, E., Young, H. E. and Dong, W. K. (1995). Failure Prediction: Evidence from Korea. International Financial Management & Accounting, 6(3), 230-249.

Campa & Camacho-Miñano. (2015). The impact of SME’s pre-bankruptcy financial distress on earnings management tools. International Review of Financial Analysis, 42, 222-234.

Graham, J.R., Harvey, C.R. and Rajgopal, S. (2005). The Economic Implications of Corporate Financial Reporting. Journal of Accounting & Economics, 40, 3-73.

Naimeh, J., Iman, D. and Mohammad, J. Z. B. (2021). Presenting a New Bankruptcy Prediction Model Based on Adjusted Financial Ratios According to the General Price Index. Advances in Mathematical Finance & Applications, 6(4), 717-732.

Thitima, C. (2021). Bankruptcy Risk and Financial Performance of Companies Listed on the Stock Exchange of Thailand. International Journal of Financial Research. 12(4), 78-87.

Welc, J. (2022). Financial statement analysis. In Evaluating Corporate Financial Performance. Palgrave Macmillan, Cham.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Zang, A. Y. (2012). Evidence on the Trade-Off between Real Activities Manipulation and Accrual-Based Earnings Management. The Accounting Review, 87, 675-703.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28