อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินลงทุน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • กัญญาพัชญ์ อรุณรัตน์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • วิชุดา สมงาม สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ชิดชญา จันทเพ็ชร์ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • อุภาวดี เนื่องวรรณะ สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

อัตราส่วนทางการเงิน , ความสามารถในการทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินลงทุน , เชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินลงทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) วิเคราะห์อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรด้านผลตอบแทนจากการลงทุน (ROIC) และ 3) วิเคราะห์อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรด้านต้นทุนเงินทุน (WACC) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เก็บข้อมูลจากรายงานประจำปี สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2562-2564 จำนวน 227 บริษัท โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณเพื่อวิเคราะห์อิทธิพลระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับความสามารถในการทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินลงทุน ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนทางการเงิน มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไร ด้านผลตอบแทนจากการลงทุน (ROIC) และ ด้านต้นทุนเงินทุน (WACC) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาด้านความคุ้มค่าในการลงทุนกลับพบว่าในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บริษัทได้รับอิทธิพลจากอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุน (ROIC) ต่ำกว่าต้นทุนเงินทุน (WACC) ในสถานการณ์นี้จึงสะท้อนว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรไม่คุ้มค่ากับเงินลงทุน

References

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563. (2563, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษที่ 52 ง. หน้า 13-14.

จิตระวี ทองเถา. (2564). นวัตกรรมทางการเงินที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารพาณิชย์ในยุคการระบาดของไวรัส COVID-19. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 214-224.

ชนกนันท์ โตชูวงศ์. (2563). การจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่บ้าน (Work from home) ของพนักงานบริษัทเอกชนในสภาวะวิกฤติการเกิดโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์). บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.

ชนาเมธ น้อยอ่าง, พิมพ์วิริยา กิจศรีวิเชียร, อัจฉราภรณ์ เกตุวงษ์, อัษฎาวุธ สวัสดิทัศน์, ภิญญดา รื่นสุข และ ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์. (2564). อิทธิพลของการจัดการการทำงานที่บ้าน (WORK FROM HOME) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 16 (น.836–846). ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ชุดาพร สอนภักดี และทาริกา แย้มขะมัง. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 151-164.

ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์. (2560). ผลกระทบของการรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2558). คู่มือ (Manual Guides). สืบค้นจาก: https://media.set.or.th

/set/Documents/2022/Mar/SET_Formula_Glossary.pdf, 16 กรกฎาคม 2565.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). สถิติสำคัญตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นจาก: https://classic.set.or.th/th/market/market_statistics.html, 1 มกราคม 2565.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). สรุปจำนวนหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน. สืบค้นจาก: https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do, 8 กรกฎาคม 2565.

ธนเทพ ณ นิโรจน์, วิชิต จรุงสุจริตกุล, โสภณ ชุมทองโด และชฎาภรณ์ ณ นคร. (2565). การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทหมวดธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(7), 103-118.

ธนาคารกรุงศรี. (2563). ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย. สืบค้นจาก: https://www.krungsri.com/th/krungsri-the-coach/investments/investment-knowledge/economic-covid-impact.

ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์ และคณะ. (2562). การเรียนรู้เพื่อรับมือกับการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจในบริบทใหม่ ยุคอุตสาหกรรม 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(2), 171-181.

วันฤดี สุขสงวน, ภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ, พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ และยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ. (2565). ผลกระทบของวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ที่มีต่ออัตราส่วนความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(4), 1583-1600.

อุภาวดี เนื่องวรรณะ. (2561). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีอิทธิพลต่อต้นทุนเงินทุน ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Bragg, S. M. (2018). The Interpretation of Financial Statements. Accounting Tools, Incorporated.

Chanklap, B. (2021). Approaches to Morning Glory Supply Chain Management of Tung Yee Peng Community, Ko Lanta District, Krabi Province. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 5(1), 9-18.

Friedlob, G. T., & Plewa Jr, F. J. (1996). Understanding return on investment. John Wiley & Sons.

Miles, J., & Ezzell, J. (1980). The Weighted Average Cost of Capital, Perfect Capital Markets, and Project Life: A Clarification. Journal of Financial and Quantitative Analysis, 15(3), 719-730. doi:10.2307/2330405.

Neukirchen, D., Engelhardt, N., Krause, M., & Posch, P. N. (2022). Firm efficiency and stock returns during the COVID-19 crisis. Financial Research Letters, 44(2022), 1-8.

Pražák, T., & Stavárek, D. (2017). The effect of financial ratios on the stock price development. Czech: Silesian University in Opava.

Qian, J. Q., & Zhu, J. L. (2018). Return to invested capital and the performance of mergers and acquisitions. Management Science, 64(10), 4818-4834.

Thanapol T. (2022). Firm Efficiency and Stock Returns during the Covid-19 Crisis: Evidence in Thailand. Journal of Innovation in Business, Management, and Social Sciences, 3(2), 52-75.

Welc, J. (2022). Financial statement analysis. In Evaluating Corporate Financial Performance (pp. 131-212). Palgrave Macmillan, Cham.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28

How to Cite

โพธิ์ประจักษ์ ด. ., อรุณรัตน์ ก. ., สมงาม ว. ., จันทเพ็ชร์ ช. ., & เนื่องวรรณะ อ. . (2023). อิทธิพลของอัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรให้คุ้มค่ากับเงินลงทุน ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 4(1), 1–15. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/267434