ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receiptของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม, การจัดทำเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, การยอมรับเทคโนโลยีบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์ และข้อจำกัดของระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 2) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนนำระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt มาใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 24 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ทั้ง 24 แห่งจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนใหญ่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และจากการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่ยอมรับเทคโนโลยีระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนนำระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt มาใช้งานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาด้านทัศนคติเชิงลบ ที่มองว่าอาจเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าไม่คุ้มค่าในการลงทุน ภาครัฐควรให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการใช้ระบบฯอย่างจริงจัง และจริงใจ อีกทั้งต้องทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมมีความมั่นใจในเสถียรภาพของระบบและการบริหารงานของภาครัฐ ในการที่จะสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วยการยกระดับคุณภาพบริการจากการลดต้นทุนในระยะยาว และยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานของรัฐ ลูกค้า เจ้าหนี้ และคู่ค้า เป็นต้น ตลอดจนการนำระบบฯ มาใช้ต้องวัดผลสัมฤทธิ์ได้จริง
References
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 125 ตอนที่ 70 ก 23 พฤษภาคม 2551.
กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2565).รายงานระบบโรงแรม. สืบค้นจาก: https://dpa.dopa.go.th/DPA/hotel_report.php
กรมสรรพากร.(2561). e-tax invoice & e-receipt. สืบค้นจาก: https://www.rd.go.th/publish/seminar/Seminar_190722.pdf
__________. (2565). รายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก: https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/registered#top
พรลภัส สถานพงษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเข้าร่วมโครงการระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ E-TAX INVOICE และ E-RECEIPT. (สารนิพนธ์). รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.
วินัย ปณิธานรักษ์ชัย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมลของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์). บัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
ศักดิ์นรินทร์ อินภิรมย์, สมบัติ ธํารงสินถาวร, ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ และสานนท์ อนันทานนท์. (2564). การศึกษาการยอมรับการใช้งานระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 212-227.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). ต่างชาติเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปี 2560 ยังมีแนวโน้มสดใสเป้าหมายรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีน่าจะขยับสู่ 1.81 ล้านบาท. สืบค้นจาก: https://www.kasikornresearch.com
สุกฤตา บุรินทร์วัฒนา, จิตติชัย ห่อทอง, สวียา ปรารถนาดี, จันทิมา งานโคกกรวด, นิวัต กุลศุภโชติ และเบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2564). อิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีต่อความตั้งใจใช้งานระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ทำบัญชีในประเทศไทย. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 23(2), 87-96.
สุธีกานต์ สุขโกมล. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้ระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt). (สารนิพนธ์). บัญชีมหาบัณฑิต วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.
Chu, A. Z. C. & Chu, R. J. C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.
Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User acceptance of computer technology: A comparison of two theoretical models. Management Science, 35(8), 982–1003.
Michael E. Porter. 2007. Technology and Competitive Advantage. The Journal of Business Strategy, 5(3), 60-78.