ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์
คำสำคัญ:
แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี , ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี , แอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี วิธีการสำรวจเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 410 คน จากผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นตรง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย มุมมองจำนวนผู้ใช้ มุมมองผลประโยชน์ที่ได้รับ มุมมองว่าใช้งานง่าย มุมมองว่ามีประโยชน์ มุมมองด้านความปลอดภัย ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี บรรทัดฐานจากบุคคลใกล้ชิด บรรทัดฐานจากบุคคลที่ติดต่อด้วย บรรทัดฐานจากทางสังคม ความตั้งใจที่จะใช้ และพฤติกรรมการใช้
References
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1980). Understanding attitudes and predicting social behavior. New Jersey: Prentice-Hall.
Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS Quarterly.
Venkatesh, V., & Bala, H. (2008). Technology acceptance model 3 and a research agenda on interventions. Decision Science.
จริยา มุสิกไชย และธัญนันท์ วรเศรษฐพงษ์. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการเลือกใช้แอปพลิเคชันซื้อขายหลักทรัพย์, การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 3 ประจำปี 2564 “การจัดการในยุคเทคโนโลยีนำการเปลี่ยนแปลง”, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี, 28 พฤษภาคม 2564, หน้า 705.
ดิลก ญาณะพันธ์. (2555). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้โปรแกรม Streaming ซื้อขายหลักทรัพย์ของนักลงทุน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบ Internet ปี 2564. เข้าถึงได้จาก: https://www.set.or.th/th/ market/securities_company_statistics 64.html, 30 พฤศจิกายน 2564.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ระบบซื้อขายหลักทรัพย์. เข้าถึงได้จาก: https://www. set.or.th/th/products/trading/equity/trading_p1.html, 30 พฤศจิกายน 2564.
รมย์นลิน นิลสมัย. (2557). การศึกษาความพึงพอใจในการทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.