ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์การใช้งานแอปพลิเคชันสั่งอาหาร

ผู้แต่ง

  • ชนม์ธีรา ขำละม้าย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พนัชกร สิมะขจรบุญ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน, บริการการส่งอาหาร, การรับรู้ประโยชน์การใช้งาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ประโยชน์การใช้งานแอปพลิเคชันสั่งอาหาร เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถามซึ่งพัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมและตรวจสอบความเที่ยงโดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค กระจายแบบสอบถามออนไลน์ไปยังกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้บริการแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ได้รับการตอบกลับจำนวน 210 ฉบับ นำข้อมูลที่สามารถวิเคราะห์สมการโครงสร้างได้ จำนวน 146 ฉบับด้วยวิธีการวิเคราะห์เส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (Partial Least Square: PLS) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SmartPLS 2.0 ผลที่ได้พบว่า การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (SN) มีอิทธิพลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ (IM) (ß=0.730, t=16.454) SN, IM, คุณภาพของผลลัพธ์ และผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้ ไม่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการรับรู้ประโยชน์การใช้งาน (PU) (ß=0.159, t=1.620, ß=-0.190, t=1.601, ß=0.025, t=0.213, ß=0.096, t=0.856 ตามลำดับ) ความเกี่ยวข้องกับงาน และการส่งเสริมทางการตลาดมีอิทธิพลเชิงบวกต่อ PU (ß=0.344, t=3.572, ß=0.402, t=3.571) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โมเดลสมการโครงสร้างสามารถทำนาย PU ได้ร้อยละ 84.60 ( =0.846) จากผลการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อแอปพลิเคชั่นสั่งอาหารให้งลูกค้ารับรู้ประโยชน์การใช้งานที่เกิดจากการส่งเสริมทางการตลาด และความเกี่ยวข้องกับงาน

References

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้

บริการแอปพลิเคชันอาหาร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). (2564). “Robinhood” แอปพลิเคชั่น Food Delivery สัญชาติไทย เพื่อคน

ไทย. [ออนไลน์]. https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/

robinhood.html

ธาวินี จันทร์คง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โมบายแอพในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขต

กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบน

สมาร์ทโฟน ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นัฐกานต์ เครือชัยแก้ว. (2559). การรับรู้ภาพลักษณ์ของตราสินค้าและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ

ของผู้ใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บริษัท มาร์เก็ตเธียร์ จำกัด (2563). ศึกฟู้ดเดลิเวอรี่ครึ่งปีหลัง 63 ระอุ เมื่อใครๆก็อยากสร้างพลังเพื่อลูกค้า.

[ออนไลน์]. https://marketeeronline.co/archives/184112

บุษรา ประกอบธรรม. (2556). การศึกษาการยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษากรณีศึกษา มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ. สุทธิปริทัศน์, 27(81), 93-108.

แบรนด์อินไซด์. (2562). LINE MAN x Wongnai พัฒนาบริการสั่งอาหารผ่านเว็บไซต์ Wongnai.com. [ออนไลน์].

https://brandinside.asia/line-man-wongnai/

ประวิทย์ มณีจันทร์. (2561). การส่งเสริมการตลาด [ออนไลน์]. https://sites.google.com/site/

groupmarketingsites/kar-sng-serim-kar-tlad

ปราณ สุวรณทัต. (2563). เปิดศึกวงการ Food Delivery ไทย. [ออนไลน์]. https://brandinside.asia/

food-delivery-competition-in-thailand

พรสวรรค์ รักเป็นธรรม, ยุววรรณ รัฐกุล, และ เสาวณี จันทะพงษ์. (2563). ผลวิกฤต COVID-19 กับธุรกิจเทรนด์

ใหม่ การขนส่งภายใต้ Next Normal. [ออนไลน์]. https://www.bot.or.th/

Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_14Apr2020.aspx

พิมพงา วีระโยธิน และธรรญธร ปัญญโสภณ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจใช้แอปพลิเคชันอูเบอร์ อีท

(Uber Eats) เพื่อบริการรับส่งอาหาร (Food Delivery). รายงานการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 “Graduate School Conference 2018 of Suan Sunandha Rajabhat University, 29 มิถุนยายน 2561, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 1(1), 708-717.

ภัทรพร ฉิมคราม . ( 2561 ). การรับรู้ด้านรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อนวัตกรรม การ

ส่งเสริมทางการตลาดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์:กรณีศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). การแข่งขันของแอปพลิเคชั่นสั่งอาหาร ดันธุรกิจ Food Delivery เติบโตต่อเนื่อง คาดมี

มูลค่าสูงถึง 33,000 – 35,000 ล้านบาท ในปี 2562 (กระแสทรรศน์ ฉบับที่ 2995) [ออนไลน์] https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z2995.aspx

สุพัชรี เกิดสุข, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, และทัศนี ประสบกิตติคุณ. (2561). การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและทัศนคติต่อ

การให้นมแม่ในที่สาธารณะของมารดาที่มีบุตรอายุ 6-12 เดือน. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 114-124.

สมัญญา อุษาเรืองจรัส. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจสั่งซื้ออาหารผ่านแอพพลิเคชั่น ไลน์แมน ของ

ผู้บริโภคใน กรุงเทพมหานคร.คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิริสุดา รอดทอง. (2556) .ความตั้งใจในการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในกลุ่มสมาร์ทโฟน.

วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การตลาด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยราชมงคลธัญบุรี.

วงศกร ยุกิจภูติ. (2559) พฤติกรรมการใช้งาน และปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในแอปพลิเคชัน LINE ของผู้ใช้งาน

ในกรุงเทพมหานคร. วารสารนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 73-95.

อรทัย จันทร. (2564). อิทธิพลที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีผ่านแอปพลิเคชันส่งอาหารของผู้บริโภคในเขต

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. RMUTT Global Business and Economics Review, 16(1), 81-91.

Chin, W.W. (2010). How to Write Up and Report PLS Analysis. In V.E. Vinzi, W.W. Chin, Jörg

Henseler, and Huiweng Wang. (Eds), Handbook of Partial Least Squares: Concept, Methods, and Applications, (pp.665-690). Springer: New York: Springer.

Chuttur, Mohammad. (2009). Overview of the Technology Acceptance Model: Origins,

Developments and Future Directions. All Sprouts Content. 290. http://aisel.aisnet.org/

sprouts_all/290

Curtis, T., Abratt, R., Rhoades, D. L., & Dion, P. (2011). Customer Loyalty, Repurchase and

Satisfaction: A Meta-Analytical Review. Journal of Consumer Satisfaction, Dissatisfaction and Complaining Behavior, 24 (), 1-26. Retrieved from http://commons.erau.edu/

dbmanagement/18

Davis, F.D. (1989). A technology acceptance model for empirically testing new enduser

information systems: theory and results. Unpublished dissertation dortoral, MIT Sloan School of Management, Cambridge, MA.

Davis, Duane. (1996). Business Research for Decision Making. 4th ed. Belmont: Wadsworth

Publishing Company.

Götz, O., Liehr-Gobber, K., & Krafft, M. (2010). Evaluation of Structural Equation Modelings Using

the Partial Least Squares (PLS) Approach. In V.E. Vinzi, W.W. Chin, Jörg Henseler, and Huiweng Wang. (Eds), Handbook of Partial Least Squares: Concept, Methods, and Applications, (pp.691-711). New York: Springer.

Hair, J. F. (Jr) et al. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th Ed. New York:

Pearson.

Hair, J.F. (Jr) et al. (2014). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM): An

Emerging toll in business research. European Business Review, 26(2), 106-121.

Leonard-Barton, D., & Deschamps, I. (1988). Managerial influence in the implementation of new

technology. Management Science, 34(10), 1252-1265.

Norman, D. A. (1987). Cognitive engineering—cognitive science. In Carroll, J. M. (Eds.). Interfacing

thought: Cognitive aspects of human-computer interaction. MA: The MIT Press. (pp. 325-336).

Rhodes R. E., & Courneya, K. S. (2003). Investigating multiple components of attitude, subjective

norm, and perceived control: An examination of the theory of planned behaviour in the exercise domain. British Journal of Social Psychology. 42(1), 129–146.

Sarstedt, M., Ringle, C.M., Hair, J.F. (2017). Partial Least Squares Structural Equation Modeling. In C.

Homburg et al. (Eds). Handbook of Market Research. (pp 1-40) Springer International Publishing AG, https://doi.org/10.1007/978-3-319-05542-8

Viswanath V., & Davis, F. D. (2000). A Theoretical Extension of the Technology Acceptance Model:

Four Longitudinal Field Studies. Management Science 46(2), 186-204.

Zeithaml, V. A., Berry, L.L., & Parasuraman, A. (1996). The behavioural consequences of service

quality. Journal of Marketing Management, 60(4), 31-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29