การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าว ของชุมชนตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • สิทธิศักดิ์ ทองเกร็ด และชมภูนุช หุ่นนาค

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น น้ำตาลมะพร้าว ชุมชนตำบลบางกระบือ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าวของชุมชนตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อระบุปัญหาและอุปสรรคการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าวและ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าว

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพแบบกรณีศึกษา ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 26 คน ได้แก่ เกษตรกร ปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้นำชุมชน ผู้บริโภคน้ำตาลมะพร้าว และหน่วยงานภาครัฐ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หลักฐาน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอุปนัย

ผลการวิจัย (1) ด้านกระบวนการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าวพบว่า (ก) การแสวงหาความรู้ มีการแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย (ข) การสร้างความรู้ มีการคิดค้นและสร้างสรรค์ความรู้ขึ้นใหม่อยู่เสมอจากประสบการณ์ที่สั่งสมมา  (ค) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ ใช้วิธีการจดจำความรู้ที่บรรพบุรุษถ่ายทอดให้ ไม่มีบันทึกไว้ชัดเจน เมื่อต้องการค้นคืนความรู้มีปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้ และ (ง) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ มีการถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลานเพื่อยึดเป็นอาชีพต่อไป (2) ด้านปัญหาและอุปสรรคการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าว พบว่า (ก) มีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนและอันตราย (ข) สภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้มะพร้าวมีผลผลิตน้อยและมีโรคระบาด และ (ค) ขาดแคลนแรงงานที่ช่วยสานต่ออาชีพนี้ และ (3) ด้านแนวทางการพัฒนากระบวนการการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำน้ำตาลมะพร้าว พบว่า (ก) การแสวงหาความรู้ หน่วยงานภาครัฐควรเข้ามาส่งเสริมสร้างแหล่งแสวงหาความรู้ที่หลากหลายและสามารถเข้าถึงได้ง่าย (ข) การสร้างความรู้ ทุกภาคส่วนควรเข้ามาส่งเสริมให้มีการสร้างองค์ความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง (ค) การจัดเก็บและค้นคืนความรู้ ทุกภาคส่วนควรร่วมกันจัดทำฐานข้อมูลและนำมาขึ้นทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (ง) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์เน้นการถ่ายทอดความรู้ให้ลูกหลานได้ซึมซับและภูมิใจมรดกทางภูมิปัญญาในอาชีพของบรรพบุรุษและทำเป็นอาชีพในอนาคต

References

กานต์สุดา มาฆะศิรานน. (2546). การนำเสนอระบบการจัดการความรู้ขององค์การภาคเอกชน.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาโสตทัศนศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจษฎา นกน้อย. (2552). นานาทัศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้.
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐิติพัชร พลีไพร. (2553). การจัดการองค์ความรู้การทำน้ำตาลโตนดโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. รายงานการศึกษาอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต.
วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญสง หาญพานิช. (2546). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษาไทย.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เบ็ญจมาศ อู่อ่อน. (2555). การศึกษาโครงสร้างอุตสาหกรรมและแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ประจักษ์ กึกก้อง.(2560).การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการปลูกกล้วยไข่อย่างมีคุณภาพของ
เกษตรกรในจังหวัดกำแพงเพชร. รายงานวิจัย. สาขานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
พระมหาโนชญ์โรจนสิริ (บุญมานิตย์). (2547). ปัจจัยที่มีผลตอการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเกษตรกร
ชาวสวนผูผลิตน้ำตาลมะพราว : กรณีศึกษาชาวสวนในเขตตําบลเหมืองใหม อําเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาไทยศึกษา.
โครงการบัณฑิตศึกษา. สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ภูมิปัญญาไทย. แหล่งที่มา : http://phumpunyathai.blogspot.com.(2558).14 พฤษภาคม 2563.
มูลนิธิสยามกัมมาจล. (2558). โครงการสำรวจท่าคาตามหาน้ำตาลมะพร้าว.
แหล่งที่มา : https://www.scbfoundation.com. 18 มีนาคม 2563.
วลัยลักษณ์ อริยสัจจเวคิน.(2552).การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีศึกษา : ผ้าจกคูบัว
ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาพัฒนศึกษา. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวัฒน์ เรืองศิลป์. (2552). การอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในการทำน้ำตาลโตนด : กรณีศึกษาบ้านแหลมวัง
จังหวัดสงขลา.วิทยานิพนธ์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา.
สาขาวิชาศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเทศบาลตำบลบางกระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม(2563).
แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561 – 2565. งานแผนและงบประมาณ.
อุทร คิดดี. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของชุมชนบ้านแพง
จังหวัดมหาสารคาม. รายงานการศึกษาอิสระ. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ฤทัยรัตน์ สงฆ์สระน้อย. (2557). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์
จากข้าวของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต.
แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31