การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ฟ้อนบูชาพระธาตุบ้านปราสาท โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ด้วยวิธีการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, ทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน 7 ขั้นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังเรียน และเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคมจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกเฉพาะค่า IOC ระหว่าง 0.68-1.00 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา 0.91 ซึ่งเครื่องมือวิจัยมีคุณภาพสามารถนำไปเก็บข้อมูลได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติ t-test dependent โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพการณ์ของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ แยกได้ 6 ประเด็น คือ ประวัติความเป็นมาของพระธาตุบ้านปราสาท ประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของประเพณีไหว้พระธาตุ บ้านปราสาท บริบทบ้านโนนธาตุ บทบาท คุณค่าของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท สภาพปัจจุบันของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท และแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท 2) ชุดกิจกรรมการเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 88.39/87.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านส่วนนำ (คำชี้แจง) ( = 4.60) ด้านองค์ประกอบทั่วไป ( = 4.58) ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบการนำเสนอ ( = 4.50) ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกิจกรรมกลุ่ม และด้านความรู้และประสบการณ์ ( = 4.49) ตามลำดับ
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การพิมพ์.
เจริญ ทองไหม. (2563, กรกฎาคม 9). ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท. สัมภาษณ์.
ชรินทร์ แปลกจิตร. (2563, กรกฎาคม 9). ปราชญ์ท้องถิ่น. สัมภาษณ์.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคนอื่น ๆ. (2545). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ชาติชาย สร้อยดอกสน. (2562). ผลการใช้บทเรียนเรื่อง ศิลปะการป้องกันตัว แบบไอคิโดโดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชลธิชา ไหมทอง, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยใช้แหล่งเรียนรู้ปราสาทศีขรภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
บุสรินทร์ พาระแพน. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน ตามแนวคิดทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน ที่ส่งเสริมบุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์การปฏิบัติท่ารำ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มงคล คมขำ. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ เรื่องการตัดสินกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วิรดี จินตะไล. (2561, มิถุนายน). “การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของซิมพ์ซัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา.” วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ. ฉ.พิเศษ : 97-111.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2551). คู่มือการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมตำบลและหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุรชาติ พานทอง. (2563, กรกฎาคม 9). เจ้าพนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท. สัมภาษณ์.
เสถียร ยอดนิล และคนอื่น ๆ. (2563, กรกฎาคม 9). ปราชญ์ท้องถิ่นบ้านโนนธาตุ. สัมภาษณ์.
ศศิบุษย์ บุราคร, อิทธิวัตร ศรีสมบัติ และสิริพัฒถ์ ลาภจิตร. (2566). การจัดการเรียนรู้เรื่องชื่นชมและบอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตและประวัติจากประวัติสาวกชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการสอนแบบบทบาทสมมุติร่วมกับการใช้หนังสือประกอบภาพระบายสี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2566-2570). ศรีสะเกษ : องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาท.
อมรรัตน์ เทพกำปนาท. (2552). ความหมาย และแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
อุไรวรรณ เจือจันทร์. (2560). การเปรียบเทียบวิธีการสอนแบบปกติกับวิธีการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson) โดยใช้ชุดฝึกทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์พื้นเมืองสร้างสรรค์ด้วยเพลงเที่ยวเมืองสุรินทร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระที่ 3 นาฏศิลป์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สุรินทร์ : โรงเรียนเมืองสุรินทร์.
Simpson, D. (1972). Teaching Physical Education : A System Approach. Boston : Houghton Mufflin Co.