วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</strong></p> <p><strong>Journal of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-8724 (Print) ISSN 3027-8732 (Online) </strong></p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ : </strong>ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน) /ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์วารสาร :</strong> ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยรับบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร</strong> ได้แก่ บทความทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การพัฒนาสังคม และการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม </p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์ :</strong> ทุกบทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน (Double-Blind Peer Review) ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ :</strong> บทความภาษาไทย 3,000 บาท / บทความภาษาอังกฤษ 4,500 บาท </p> th-TH jhssrru@srru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพัฒถ์ ลาภจิตร (Asst. Prof. Dr.Siriphat Lapchit)) jhssrru@srru.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพัฒถ์ ลาภจิตร (Asst. Prof. Dr.Siriphat Lapchit)) Fri, 11 Oct 2024 11:50:53 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/276187 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ งานวิจัยนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม โดยมีขั้นตอน 1) การหาแรงบันดาลใจ 2) การระดมความคิด และ 3) การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลสำคัญมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อทางศาสนาองค์ประกอบทางกายภาพ ของสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ 2) กรอบแนวคิดการพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การหาแรงบันดาลใจ การระดมความคิด และการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ได้ผลรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี (𝑥̅=4.13, S.D.=0.77)</p> ณัฐธิดา มณีเรือง, พงษ์พิพัฒน์ สายทอง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/276187 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278086 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. 2) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำนวน 230 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อม การทำงานที่ปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าในสายงาน ด้านความภาคภูมิใจ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในงาน ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน</p> กุลธิดา มาลัยแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278086 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279034 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 จากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงก่อนและหลัง และ 3) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน โดยการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้าน ครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี จำนวน 3 แผน 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินสมรรถนะการคิดขั้นสูง แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามรายประเด็นศึกษา<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 41.92 และ 72.91 ตามลำดับ และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลทดสอบการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.58 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 แต่เมื่อคำนวณค่าสถิติแล้ว p-value มากกว่า.05 จึงสรุปได้ว่า หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน กระตือรือร้นร่วมมือกันเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเพื่อความสำเร็จของงาน</p> จตุพร เตร่พิมาย, สิรินาถ จงกลกลาง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279034 Tue, 05 Nov 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280781 <p> เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเน้นย้ำถึงความสำคัญของทักษะทางการเงิน โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ทักษะทางการเงินซึ่งครอบคลุมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการตัดสินใจทางการเงิน มีความสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่วนบุคคลและระดับประเทศ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 2) เปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประชากร คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 2,723 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 675 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenient Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของทักษะทางการเงินทั้งฉบับเท่ากับ 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชายของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีทักษะการเงินในภาพรวม และแยกองค์ประกอบเป็น ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Components) ให้ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสมได้สูงที่สุด 67.335 โดยทักษะทางการเงินสามารถแบ่งได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การก่อหนี้เกินตัว สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 16.308 องค์ประกอบที่ 2 การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 15.028 องค์ประกอบที่ 3 การออมและการลงทุน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 13.124 องค์ประกอบที่ 4 การวางแผนการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 11.923 และองค์ประกอบที่ 5 การปรับตัวทางการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 10.951<br /> สรุปผลการวิจัย การเปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยรวมนักศึกษาชายมีทักษะทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักพบว่าทักษะทางการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การก่อหนี้เกินตัว การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ การออมและการลงทุน การวางแผนการเงิน และการปรับตัวทางการเงิน ซึ่งอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 67.335</p> ปวีณา คำพุกกะ, อรุณรัตน์ เศวตธรรม, ปดิวรดา ล้อมลาย, สุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์, รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280781 Thu, 28 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง กรมราชทัณฑ์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278468 <p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีประชากรข้าราชการจำนวน 127 คน คำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 96 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีความผูกพันต่อองค์การในด้านบรรทัดฐานอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความผูกพันด้านความรู้สึก และด้านการคงอยู่กับองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน และปัจจัยลักษณะงานมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศิลาวุฒิ สีชาติ, ภิรดา ชัยรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278468 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278939 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประชากรคือ ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 3,605 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 351 คน กำหนดขนาดตัวอย่างสำเร็จรูปของ Krejcie &amp; Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 และรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ ขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการพัฒนาและเปลี่ยน แปลงให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งผลให้สถานศึกษาพัฒนาไปสู่ประสิทธิภาพ</p> เกษสุดา งิ้วลาย, วิไลวรรณ พรมสีใหม่, ชวนคิด มะเสนะ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278939 Tue, 03 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278501 <p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลองครั้งนี้ เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลศีขรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1 จำนวน 28 คน โดยเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรม 2) สื่อการเขียนโปรแกรมออนไลน์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงจำนวน 12 แผน มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหากับองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 มีค่าความยากง่ายที่ระดับ 0.44-0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.60 ถึง 1.00<br /> ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 86.88/85.36 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7537 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 75.37 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด</p> อุทัยวรรณ กาญจนโกสุม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278501 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279671 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 181 คน จากประชากร จำนวน 336 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.43) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.42) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.41) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.40) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.38) และด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37) 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทางการพัฒนาใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ประกอบด้วย 30 แนวทาง</p> อาคม ชัยศรี, ประภาพร บุญปลอด, ธัญเทพ สิทธิเสือ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279671 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279770 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 5 คน นักออกแบบ จำนวน 3 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 98 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยแบบตั้งคำถามสู่โอกาส แบบระดมสมอง แบบใบแสดงความคิด แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบต้นแบบแสดงแนวคิด 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ 3) แบบทดสอบความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีค่าความยากง่ายของแบบทดสอบแต่ละข้อมีค่า ตั้งแต่ 0.27-0.77 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.22-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของ แบบทดสอบเท่ากับ 0.88 และ 4) แบบประเมินสะท้อนคิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักการออกแบบซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญสำหรับใช้การออกแบบต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยกำหนดองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ บทบาทของครูผู้สอน บทบาทของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลงานและภาระงานของผู้เรียน 2) ผลการทดสอบใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับคุณภาพระดับดีและดีเยี่ยม ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนพบว่า ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้นี้ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้กิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้นและสามารถรับรู้ความรู้ได้ดีขึ้นความพร้อมในการเรียนรู้ แสดงความพร้อมในการเรียนรู้มากขึ้น การประเมินและสะท้อนคิดจากการทดลองในบริบทจริงพบว่าการสะท้อนคิดและประเมินยืนยันถึงความสำเร็จของชุดกิจกรรมในการส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น</p> กิตติพล สุวรรณไตรย์, วรรณธิดา ยลวิลาศ, ปวีณา ขันธ์ศิลา, สายหยุด ภูปุย Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279770 Mon, 09 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278571 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติการทดสอบทีและเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงพระบางวิทยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การหาค่าอำนาจจำแนก / ค่า IOC / ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย ได้ค่า 0.4-0.8 / 1.00 / 0.79 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ผลการวิจัย พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=32.54) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=13.79) และเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับดี จากผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาได้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน</p> กาญจนา สีสวาท, พรรนิพา พวันนา, วัญเพ็ญ คงเพ็ชร, วิไลลักษณ์ โคมพันธุ์, มณีรัตน์ น้ำจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278571 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279600 <p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนทางการบริหารและพัฒนาการศึกษาในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบูรณาการ และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยภาพรวมองค์ประกอบมีความเหมาะสมมากที่สุด</p> จิราภรณ์ จำเริญดี, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข, นวพร วรรณทอง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279600 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279561 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน และ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรู้ดิจิทัล (2) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (3) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ(4) การสื่อสารดิจิทัล 2) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.65) เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรู้ดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =5.0) รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.80) และการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.80) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสื่อสารดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.00)</p> กิตติภัฎ ฤทธิ์สุวรรณ, เอกลักษณ์ เพียสา, วาโร เพ็งสวัสดิ์ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279561 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 A Study on the Use of the Context Clues as Tools for Reading Comprehension https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281012 <p> English Language has too many words for individual learners to learn them all. Thus, it is imperative that they have to know how to utilize the techniques to learn new words and when to use them. The research aims to study the using of the contextual clues, and to enable readers of English to understand the clues and utilization. The target samples were thirty students who majored in Business English from the Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University. They were derived by a specific sampling. The research instruments were the subjective test of 20 items, and the interview forms. Data were collected by having the target samples do the text. After the test, the subjects were interviewed. Data which were obtained from the test were analyzed by One Sample t-Test and interviews were analyzed to gain the guidelines to enhance the ability of readers or learners of English. The results found that the test results of learning performance based on the context clues less than 80% with statistical significance (.00*). There are 8 components for enable readers of English to understand the clues and utilization including the understanding the definition or detailed in a sentence, contrast meaning, synonyms of word or phrase, logic of the passage clues, cause and effect of meaning, word analysis, punctuation marks, and signal words or transition words.</p> Asana Cherdchoo Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281012 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 The Role of Cultural Heritage in Design Education : A Case Study of Suzhou Lattice Windows https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280572 <p> Suzhou, renowned for its architectural heritage, including the art of lattice windows in its gardens, is a focus of cultural and educational significance. This research investigates the incorporation of traditional lattice windows into modern design education in Suzhou. Utilizing literature reviews, field studies, and case analyses, the study explores effective methods to integrate traditional cultural elements into contemporary educational frameworks. Results indicate that incorporating Suzhou lattice windows enriches curriculum content, boosts students' creativity, and enhances their understanding of cultural heritage. This fosters a deeper cultural identity and improves design skills, offering valuable insights for advancing design education and preserving cultural heritage.</p> Wang Qiong, Sakchai Sikkha Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280572 Fri, 20 Dec 2024 00:00:00 +0700 Chinese Archery Cultural Heritage : Illustrated Guide to Mongolian Archery Techniques https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280528 <p> This article uses qualitative research methods to interpret and explore Chinese archery culture, inheriting and passing on traditional ethnic culture. Three research objectives have been formulated : 1) Research and collect the historical development of Mongolian-style archery in Chinese traditional archery culture 2) Study and analyze the advantages and disadvantages of Mongolian-style archery compared to Mediterranean-style archery 3) Describe the learning movements of Mongolian-style archery to promote archery culture and make it easier for people to learn and master archery.<br /> This article uses qualitative research methods to interpret and explore Chinese archery culture, inheriting and passing on traditional ethnic culture. It provides detailed explanations of teaching illustrations for Mongolian archery techniques, covering topics from the history and culture of archery to its practical applications, and then to the study of archery techniques. Mao Haiyan, Cai Zhong. A Comparative Study of Traditional Archery in China and the Development of Kyudo in Japan. [Abstract Compilation of the 11th National Sports Science Conference.]. Based on the selected text direction for cultural exposition, introduce archery culture, expound the advantages and disadvantages of Mongolian shooting method, and analyze the functional usage of Mongolian shooting method. Delve into the role and usage of Mongolian shooting method in the history of archery development. Elaborate on the Mongolian shooting method, set teaching methods, and describe them in words so that learners can easily grasp the Mongolian shooting method from textual descriptions. At the same time, Finally, summarize and describe the problems discovered during the literature collection and teaching process, and describe each step of the Mongolian shooting method in written form, and promote and explain it in the form of drawings and written text.</p> Xia Zhiyou, Sakchai Sikka Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280528 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 บทบาทพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาสงเคราะห์ ในเขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281456 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 รูป/คน คือ 1) กลุ่มพระสังฆาธิการ 2) กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น 3) กลุ่มราชการ 4) กลุ่มประชาชนทั่วไป 5) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน 6) กลุ่มนักวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไม่มีการดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับเอาไปดำเนินการทั้งหมด และด้านการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี<br /> บทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับเอาไปดำเนินการทั้งหมด คณะสงฆ์จึงมีบทบาทน้อย 2) ด้านการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ คณะสงฆ์อำเภอสังขะ มีบทบาทด้านนี้อย่างต่อเนื่อง<br /> แนวทางส่งเสริมบทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดสุรินทร์ มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัด มีแนวทางส่งเสริม ได้แก่ (1) ส่งเสริมด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ (2) ส่งเสริมด้านอาคารสถานที่ (3) ส่งเสริมด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร (4) ส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน 2) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ ควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ควรจัดสรรรายได้ประจำปีของวัดมาช่วยเหลืออย่างชัดเจน (2) ควรหางบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียน (3) ควรจัดหาอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาให้มีความทันสมัย และ (4) ควรจัดบริการแนะแนวทางการศึกษาแก่นักเรียนผ่านทางกิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น<br />เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งและดี</p> พระประเสริฐ ปภาโส, พระครูใบฎีกาเวียง กิตติวณฺโณ, ภัฏชวัชร์ สุขเสน Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281456 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 แนวทางการพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะ 7 ของคณะสงฆ์ อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281475 <p> บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักสัปปายะ 7 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการพัฒนาวัดของคณะสงฆ์อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะ 7 ของคณะสงฆ์อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 37 รูป/คน จำนว 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มพระสังฆาธิการ จำนวน 6 รูป 2) กลุ่มนักปกครอง และผู้บริหารท้องถิ่น จำนวน 5 คน 3) กลุ่มราชการ จำนวน 6 คน 4) กลุ่มนักวิชาการ จำนวน 5 คน 5) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน 6) กลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 10 คน มีวิธีการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วนำเสนอเชิงพรรณาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. หลักสัปปายะ 7 หมายถึง สบาย สภาพเอื้อ สภาวะที่เกื้อหนุน สิ่ง สถาน หรือบุคคล </span><span style="font-size: 0.875rem;">ซึ่งเป็นที่สบาย เหมาะกัน เกื้อกูล หรือเอื้ออํานวย มี 7 ประการ ได้แก่ 1) อาวาสสัปปายะ </span><span style="font-size: 0.875rem;">2) โคจรสัปปายะ 3) ภัสสะสัปปายะ 4) ปุคคลสัปปายะ 5) โภชนสัปปายะ 6) อุตุสัปปายะ และ</span><span style="font-size: 0.875rem;">7) อิริยาบถสัปปายะ โดยหลักสัปปายะ 7 สามารถนำไปใช้กับคณะสงฆ์ในการพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่รื่นรมย์ เป็นรัมณียสถาน เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาวัดของคณะสงฆ์อำเภอบัวเชด มีการแบ่งเขตพื้นที่ออกเป็น </span><span style="font-size: 0.875rem;">3 ส่วน คือ 1) เขตพุทธาวาส 2) เขตสังฆาวาส 3) เขตธรณีสงฆ์ โดยแบ่งตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เพื่อประโยชน์ต่อการใช้สอยพื้นที่ในบริเวณวัดและเกิดความเป็นสัปปายะ มีลักษณะเด่น คือ คณะสงฆ์อำเภอบัวเชด อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติเป็นอย่างมาก ทำให้ภูมิอากาศไม่ร้อนเกินไป ไม่หนาวเกินไป คณะสงฆ์มีความสามัคคี<br /></span> 3. แนวทางการพัฒนาวัด คณะสงฆ์อำเภอบัวเชดมีแนวทางการพัฒนาวัดให้เป็นสถานที่เหมาะสมตามหลักสัปปายะทั้ง 7 ประการ คือ 1) อาวาสสัปปายะ การพัฒนาวัดหรือปรับปรุงวัดให้มีความสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย 2) โคจรสัปปายะ มีสภาพแวดล้อมที่ดี ถูกสุขลักษณะ 3) ภัสสสัปปายะ สนทนาและการสื่อสารที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างพระสงฆ์กับฆราวาส 4) ปุคคลสัปปายะ ส่งเสริมให้มีกัลยาณมิตร 5) โภชนสัปปายะ จัดการด้านโภชนาการ ที่จะเป็นโยชน์ต่อสุขภาพของพระภิกษุสงฆ์ 6) อุตุสัปปายะ จัดระบบสภาพแวดล้อมภายในวัดและชุมชนให้มีสภาพที่เอื้อต่อธรรมชาติและการเรียนรู้ ให้มีส่วนพุทธธรรมเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติภาวนา 7) อิริยาปถสัปปายะ ส่งเสริมการออกกำลังกาย การจัดพื้นที่ภายในวัดและชุมชนเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางสังคม</p> พระอุดมศักดิ์ อธิจิตฺโต, พระราชวิมลโมลี, ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281475 Wed, 25 Dec 2024 00:00:00 +0700 การจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพประชาชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282244 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงสำหรับผู้เรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปากช่อง (ศสกร.) จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง สำหรับประชาชนผู้เรียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนหรือประชาชน ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง ที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกต แบบประเมินชิ้นงาน ใบวัดความรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถาม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. การจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพประชาชน ได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นร่วมกันระหว่างผู้เรียน ชุมชน ภูมิปัญญา ครูและผู้สอน เป็นหลักสูตรบูรณาการที่จัดการเรียนรู้ด้วยการศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน แล้วนำวิเคราะห์จัดทำหลักสูตรและเนื้อหา วิธีการสอนแบบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 40 ชั่วโมง โดยเนื้อหาของหลักสูตร มีดังนี้ 1) ช่องทางการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง 2) ทักษะการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง 3) การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ 2) ขั้นวิธีการสอน 3) ขั้นประเมินผล และ 4) ขั้นสรุปผล<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพ พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติลงมือทำในแปลงมะม่วง เกิดทักษะในการปลูก การทาบและตอนกิ่งมะม่วงการบำรุงดูแลรักษา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอถ่ายทอดเทคนิควิธีการปลูกมะม่วงการจำหน่ายมะม่วงโดยผ่านช่องทางออนไลน์ </span><span style="font-size: 0.875rem;">การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้เรียนที่มีความพึงพอใจมากที่สุดทุกด้าน </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านครูและผู้สอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ</span></p> <p> </p> มาโนชฐ์ ลาภจิตร, ชณัฐตา แซ่เลี้ยง, รุ่งเรือง แซ่เลี้ยง, สิริพัฒถ์ ลาภจิตร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282244 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 สภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282134 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอนและขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 21 คน ครูผู้สอน 330 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอนและขนาดโรงเรียน พบว่าโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ พบว่า 3.1) ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ควรศึกษาหลักสูตรแกนกลาง โครงสร้างหลักสูตร วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ครูทุกคนมีส่วนร่วม มีความทันสมัยและเหมาะสม มีการประเมินหลักสูตรเพื่อนำไปปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 3.2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับตัวชี้วัด ส่งเสริมกระบวนการคิด มีความหลากหลาย เหมาะสมกับสาระ วัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล ปรับใช้ตามสถานการณ์ ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.3) ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมศักยภาพตามความสนใจ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 3.4) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ควรมีความรู้ด้านหลักการใช้และพัฒนาสื่อ สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เหมาะสมกับผู้เรียนและมีความหลากหลาย และ 3.5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรมีความรู้ด้านการวัดและประเมินผล ควรวางแผน กำหนดนโยบายการวัดและประเมินผล สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด มีการประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้</p> นิกรณ์ นิลพงษ์, เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ, ชวนคิด มะเสนะ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282134 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/275004 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรเชิงปริมาณ คือ ผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 130 คน การคัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Alpha’s coefficient- α) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อย จังหวัดบึงกาฬ โดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI modified) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่แดนหญิง และผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบึงกาฬ รวมจำนวน 5 คน โดยพิจารณาจากหน้าที่รับผิดชอบตามตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา อายุงาน และประสบการณ์การทำงานเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำผลศึกษามาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ รองลงมาคือ การพัฒนาด้านร่างกาย 2) แนวทางในการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ คือ ควรจัดให้มีการฝึกทางพลศึกษาและการบันเทิงรื่นเริง สร้างแหล่งการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรมความมีวินัยในตนเองให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังทุกช่วงวัย ควรจัดผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านจิตเวชเข้ามาทำการประเมินความเข้มแข็งสภาพจิตใจของผู้ต้องขังเป็นประจำทุกปี ส่งเสริมและพัฒนาการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ต้องขัง จัดกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับผู้ต้องขังอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพให้มีความหลากหลาย และเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ทดลองปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพนั้น ๆ</p> นัฐพงษ์ พินทา, ธนวิทย์ บุตรอุดม Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/275004 Fri, 27 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของชุมชนในตำบลตรึมอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281492 <p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพิธีกรรมแกลมอของชุมชนในเขตตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 2) ศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอของชุมชนในตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฎในพิธีกรรมแกลมอของชุมชนในเขตตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา<br /> ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมแกลมอ เป็นประเพณีของท้องถิ่นชุมชนในตำบลตรึม ภาษาถิ่นเรียกว่าเล่นมอ (แกลมอ ) ชาวบ้านประกอบพิธีกรรมนี้เพื่อให้กำลังใจคนที่เจ็บป่วยหรือมีทุกข์ทางใจ พิธีแกลมอจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1) การบูชาดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ 2) การประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาผู้ป่วยซึ่งเป็นการอัญเชิญดวงวิญญาณของบรรพบุรุษมาให้ความช่วยเหลือ ขอคำแนะนำผ่านล่าม หรือ คนทรงเพื่อหาสาเหตุของการเจ็บป่วยและหาทางรักษาตามความเชื่อ 3) การประกอบพิธีกรรมเพื่อเป็นการแก้บนหรือสักการะตอบแทนดวงวิญญาณบรรพบุรุษที่ดลบันดาลให้ได้รับความสำเร็จตามคำขอของลูกหลาน หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอ คือ หลักศรัทธา ภูตะ วิญญาณ กตัญญูกตเวที โรค การเคารพ บูชา กรรม บุญกิริยาวัตถุ ไตรลักษณ์ และฆราวาสธรรม ผลการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในพิธีกรรมแกลมอ คือ 1) หลักศรัทธา คือ มีความเชื่อว่าถ้าไม่ทำพิธีกรรม สมาชิกในครอบครัวอาจเจ็บป่วยมีความทุกข์ทางใจได้ 2) ภูตะ คือ ผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษ ที่อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน ตามทุ่งนา 3) วิญญาณ คือ เป็นการสื่อสารกับวิญญาณบรรพบุรุษ 4) กตัญญูกตเวที คือ เป็นการแสดงออกเพื่อตอบแทนคุณบรรพบุรุษ 5) โรค คือ โรคที่รักษาหายและไม่หาย 6) การเคารพ คือ เป็นแนวทางที่ต้องปฏิบัติต่อครูบา 7) บูชา คือ เป็นสิ่งแทนการบูชาในพิธี 8) กรรม คือ เป็นการสอนเชื่อเรื่องกรรมที่มาจากวิญญาณบรรพบุรุษเป็นหลัก 9) บุญกิริยาวัตถุ คือ มีการให้ทาน รับศีล และเจริญภาวนา 10) ไตรลักษณ์ คือ ให้เห็นว่าร่างกายและความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ตกอยู่ในหลักไตรลักษณ์ และ 11) ฆราวาสธรรม คือ ปลูกฝังให้มีสัจจะ ข่มจิตใจ ความอดทน และมีการเสียสละ</p> พระภานุพงศ์ ธมฺมทีโป, พระครูใบฎีกาเวียง กิตฺติวณฺโณ, พระครูศรีปรีชากร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281492 Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700 ศึกษาบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281491 <p> งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำเสนอแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์<br /> ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ในสังคมไทย พบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินการ ยังขาดการจัดทำแผนงานนโยบายและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง 2) ปัญหาการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่น งานตกอยู่พัฒนากรอำเภอส่วนปกครอง แต่ความไม่ต่อเนื่องทำให้หยุดกิจการไป 3) ปัญหาการสนับสนุนเกื้อกูลสาธารณสมบัติ ซึ่งส่วนใหญ่ขาดผู้รับผิดชอบในการประสานงาน และขาดการมีส่วนร่วม และ 4) ปัญหาการเกื้อกูลประชาชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้โดยร่วมบริจาคเงินสมทบ แต่ยังไม่ต่อเนื่องเพราะปัญหาจากขาดการสนับสนุน บทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย พบว่า มีบทบาทงาน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือ เช่น มีสถานที่หรือศูนย์สาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด 2) ด้านการสนับสนุนเกื้อกูล เช่น โครงการวัดช่วยวัด 3) ด้านการมีส่วนร่วมพัฒนา เช่น โครงการบวช บ้าน วัด หรือราชการ เข้าไปมีส่วนพัฒนา เช่น เรื่องหมู่บ้านรักษาศีล 5 และ 4) ด้านการบูรณาการเครือข่าย เช่น การติดต่อประสานงานบุคคลอื่น ในทางคณะสงฆ์ ราชการ เอกชนและประชาชน ส่วนบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พบว่าบทบาทงาน 4 ด้าน 1) ด้านการสงเคราะห์วัดและคณะสงฆ์ เช่น โครงการดูแลพระภิกษุอาพาธ 2) ด้านการเกื้อกูลชุมชน เช่น การจัดสถานที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด รวมกับคณะสงฆ์และบ้านเมือง ช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3) ด้านการพัฒนาชุมชน เช่น การอบรมคุณธรรมฝ่ายปกครองท้องถิ่นและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 4) ด้านการบูรณาการกับภาครัฐ เอกชน และชุมชน เช่น ร่วมกับวัดชาวบ้านราชการสมทบทุนสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น</p> พระพยุง คุณธมฺโม, ภัฏชวัชร์ สุขเสน, พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281491 Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282882 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ในสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567 จำนวน 12,654 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2567 จำนวน 370 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson's Product-Moment Correlation Coefficient)<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.42) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการสื่อสารที่ดี และด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.53) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน 3) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย</p> ศิรินภา อยู่ปูน, ศิริพงษ์ เศาภายน Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/282882 Sun, 29 Dec 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ฟ้อนบูชาพระธาตุบ้านปราสาท โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ด้วยวิธีการสอนทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน 7 ขั้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/283211 <p> การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังเรียน และเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคมจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 38 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้รู้ จำนวน 10 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกเฉพาะค่า IOC ระหว่าง 0.68-1.00 มีค่าดัชนีความสอดคล้องเชิงเนื้อหา 0.91 ซึ่งเครื่องมือวิจัยมีคุณภาพสามารถนำไปเก็บข้อมูลได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้สถิติ t-test dependent โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป<br /> ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพการณ์ของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ แยกได้ 6 ประเด็น คือ ประวัติความเป็นมาของพระธาตุบ้านปราสาท ประวัติความเป็นมาและองค์ประกอบของประเพณีไหว้พระธาตุ บ้านปราสาท บริบทบ้านโนนธาตุ บทบาท คุณค่าของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท สภาพปัจจุบันของประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท และแนวทางในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมประเพณีไหว้พระธาตุบ้านปราสาท 2) ชุดกิจกรรมการเรียนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 88.39/87.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.51) เมื่อพิจารณารายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านส่วนนำ (คำชี้แจง) (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.60) ด้านองค์ประกอบทั่วไป ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.58) ด้านเนื้อหา ด้านรูปแบบการนำเสนอ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.50) ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกิจกรรมกลุ่ม และด้านความรู้และประสบการณ์ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.49) ตามลำดับ</p> อมรรัตน์ พิเลิศ Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/283211 Mon, 30 Dec 2024 00:00:00 +0700