วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru <p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</strong></p> <p><strong>Journal of Humanities and Social Sciences Surindra Rajabhat University</strong></p> <p><strong>ISSN XXXX–XXXX (Print) ISSN XXXX-XXXX (Online) </strong></p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ : </strong>ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน) /ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์วารสาร :</strong> ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยรับบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร</strong> ได้แก่ บทความทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การพัฒนาสังคม และการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม </p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์ :</strong> ทุกบทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสองท่าน (Double-Blind Peer Review) ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ :</strong> บทความภาษาไทย 3,000 บาท / บทความภาษาอังกฤษ 4,500 บาท </p> คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ th-TH วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ การพัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/273370 <p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดงอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นของชุมชน ตำบลดอนมดแดง 3) พัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของชุมชนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร และตัวแทนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทางภาครัฐ รวมจำนวน 30 คน<br /> ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเภทอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง จำนวน 11 ประเภท รวม 44 รายการ ซึ่งเป็นรายการอาหารที่คนในชุมชนรับประทาน และมีวิธีการประกอบอาหารอย่างพิถีพิถันหลากหลายประเภท 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง พบว่า อาหารที่คนในชุมชนรับประทานมากที่สุด ได้แก่ ส้มตำ แกงหน่อไม้ ป่นปลาลวกผัก ขนมจีนน้ำยา กล้วยบวดชี และ 3) การพัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชน ตำบลดอนมดแดง นำอาหารที่มีอยู่ในชุมชนแต่เดิมมาประยุกต์พัฒนาให้เกิดเป็นสำรับใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรุงอย่างพิถีพิถัน และนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชนตำบลดอนมดแดง โดยนำเสนอผ่านสำรับอาหาร และสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชน และยังเป็นที่รู้จักสำหรับคนที่ได้รับประทานอาหารเพื่อเป็นการนึกถึงแหล่งที่มาของอาหารเหล่านี้ ได้แก่ ส้มตำกุ้งฝอยทอดกรอบ แกงหน่อไม้หอยเชอรรี่ ป่นปลาลวกผัก ขนมจีนน้ำยาปูนา กล้วยบวดชีมันแซง อีกทั้งยังทำให้คนในชุมชนรู้สึกภาคภูมิใจและอยากที่จะรักษาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดงไว้สืบไป</p> ภัทรวดี ห่วงเพชร ปรางค์ทิพย์ จันทร์แดง นฤภรณ์ สุโพภาค จรารุวรรณ วิเศษชลธาร อนิรุตห์ แต้มงาม กิตต์กวินเดชน์ วงศ์หมั่น Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-04-17 2024-04-17 26 1 1 16 การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/273867 <p> งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง <br />ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนราษฎร์พัฒนา จำนวน 19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า<br /><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผลการศึกษาเกี่ยวกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยยึดหลักการสร้างตามทฤษฎีสื่อประสม และนำองค์ประกอบที่ได้ไปสร้าง</span><span style="font-size: 0.875rem;">ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุด ผลการประเมินองค์ประกอบและค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 1) ด้านเนื้อหาเรียงลำดับจากง่าย</span><span style="font-size: 0.875rem;">ไปหายาก มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ไม่ซับซ้อน มีตัวอย่างที่ชัดเจนและเหมาะสมกับการศึกษาด้วยตนเอง </span><span style="font-size: 0.875rem;">2) ด้านสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือสำหรับครู ใบความรู้ ใบงาน สื่อบุคคล 3) ด้านการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีสอนแบบใหม่ๆ หลากหลายวิธีการ ทำให้รู้สึกสนุกสนานกับการเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และ 4) ด้านการวัดผลประเมินผล โดยการประเมินผลหลายๆ แบบผสมผสานกัน เช่น การสังเกต การทดสอบ การประเมินผลตามสภาพจริงและประเมินให้ครอบคลุมทุกด้าน<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวิเคราะห์เอกสาร และผลการนำชุดกิจกรรมไปใช้ในการเรียนรู้กับผู้เรียน พบว่า ชุดกิจกรรมมีค่าประสิทธิภาพ 83.33/83.11 ซึ่งมีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ </span><strong style="font-size: 0.875rem;">(</strong><span style="font-size: 0.875rem;">E</span><sub>1</sub><span style="font-size: 0.875rem;">/ E</span><sub>2</sub><span style="font-size: 0.875rem;">) สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 </span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่กำหนดไว้<br /></span><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ซิปปาโมเดล มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> อำนาจ ศรทอง อัชราพร สุขทอง ธงไชย สุขแสวง Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2024-04-20 2024-04-20 26 1 17 32