เกี่ยวกับวารสาร

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Journal of Hunamities and Social Sciences Surin Rajabhat University

ISSN  1905–551X  (Print)
ISSN  2672-9849 (Online)

 

ขั้นตอนการดำเนินงานวารสาร

หลักเกณฑ์การเสนอบทความและคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

แบบฟอร์มการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

ใบตอบรับการเป็นสมาชิกวารสาร

รูปแบบบทความวิจัย (Research Template)
- รูปแบบบทความวิจัย ไฟล์ pdf
- รูปแบบบทความวิจัย ไฟล์ word

รูปแบบบทความวิชาการ (Academic Template)
- รูปแบบบทความวิชาการ ไฟล์ pdf
- รูปแบบบทความวิชาการ ไฟล์ word

นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์เผยแพร่ (Scope and Publication Policies)

        วารสารมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ พัฒนาสังคมและการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม โดยมีรูปแบบการตีพิมพ์ฉบับพิมพ์ ISSN 1905-551X (Print) ตั้งแต่ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554 และได้เริ่มจัดจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN 2672-9849 (Online) ตั้งแต่ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2562  โดยมีกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับปกติ (Regular Issues) ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) สำหรับวารสารฉบับพิเศษ (Special Issues) นั้น ทางวารสารตีพิมพ์บทความโดยใช้วารสารฉบับปกติตามกำหนดออก แต่มีความพิเศษเนื่องจากเป็นการตีพิมพ์ในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเป็นการตีพิมพ์เฉพาะเรื่อง (Themes or Specific Topics) ตามที่มหาวิทยาลัยหรือคณะกำหนด ทั้งนี้ ทางวารสารจะมีการกำหนดเผยแพร่วารสารฉบับเพิ่มเติม (Supplemental Issues) ที่ตีพิมพ์บทความในฉบับที่นอกเหนือจากฉบับปกติตามกำหนดออก เป็นการตีพิมพ์เผยแพร่บทความทางวิชาการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยหรือคณะในโอกาสต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ปีละ 1 ฉบับ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาคุณภาพบทความตามหลักเกณฑ์การพิจารณาของวารสารและคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) อย่างเข้มข้นเช่นเดียวกันทุกฉบับ

Scope and Publication Policies

          The journal has a policy to promote and support lecturers, academicians, students and other interested people to have the opportunity to disseminate academic works and research works in humanities and social sciences and related fields including political science, public administration, law, sociology, economics, social development and education. In addition, the analytical studies presenting the problem solution to society.  With the publication of the printed version ISSN 1905-551X (Print) from the 13th year, Issue 1, 2011 and has been prepared in electronic format ISSN 2672-9849 (Online) from the 21st year, Issue 1, 2019. Regular issue is published in two editions, namely, 1st Issue (January-June) and 2nd Issue (July-December). For special issues, the Journal publishes articles as using regular Issues. But there is special because it is published on various important occasions which are themes or specific topics as specified by the university or faculty. The journal will be published in supplemental issues, which publishes articles in the issue in addition to regular issue. Publication of academic articles is in accordance with the policy of the university or faculty on various occasions, as appropriate, 1 issue per year, which has a process to consider the quality of the articles in accordance with the criteria of the journals and the peer review committee as the same concentration in every issue.

 จริยธรรมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน (Publication Ethics)

          ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับทางกองบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร ทั้งนี้ บทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเสนอขอตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ หากมีการใช้ตาราง ภาพ หรือแผนภูมิของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อกองบรรณาธิการก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์

 Publication Ethics

          The author should be aware of the importance of preparing the article correctly according to the article’s format as the journal determines. In addition, there must be a validation check and proofreading before submitting the article to the editorial boards. However, the preparation of the article correctly according to the requirements of the journal will make the publication faster. In this regard, the editorial boards reserve the right not to consider the article until correcting the requirements of the journal. The original article that has been printed must never be published in any journal or publication before or not in the process of considering proposals for publication in journals or other publications. If using tables, images or charts of other authors that appear in other publications, the author must first ask permission of the copyright owner. The official letter must be presented with the consent of the editorial boards before the article is published.

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ (Consideration and selection of articles)

          บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยบทความผู้นิพนธ์ภายนอกได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายในและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกคนละ 1 ท่าน ส่วนบทความผู้นิพนธ์ภายในได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหน่วยงานที่จัดทำวารสาร มีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review)

Consideration and selection of articles

          Each article will be considered by the peer review committee from 2 experts. The external author's articles are considered by 1 internal expert and 1 external expert. The internal author's articles are considered by experts from outside agencies that create journals with expertise in relevant fields and received approval from the editorial boards before publication. The form of article consideration will be a Double-Blind Peer Review. 

ส่วนประเภทของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร

       วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

  1. บทความวิจัย  

                   รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจทันต่อเหตุการณ์และยุคสมัย ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน ควรมีองค์ประกอบดังนี้

                   1.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษ

                   1.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 

                   1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                   1.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล

                   1.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนของเนื้อหาที่อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา และเหตุผลนำไปสู่การศึกษาวิจัย ทั้งนี้ ควรอ้างอิงเอกสารและงานวิจัยที่มีความทันสมัยและความถูกต้องที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้มีน้ำหนักและเกิดความน่าเชื่อถือ

                    1.6 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Research Objectives) ระบุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย

                   1.7 วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methods) อธิบายถึงกระบวนการดำเนินการวิจัยอย่างละเอียด และชัดเจน กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษา เช่น ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ขอบเขตการศึกษา วิธีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้และวิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยมีความเหมาะสมและคุณภาพ รวมทั้งสถิติที่นำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูล

                    1.8 ผลการวิจัย (Research Results) เสนอผลการวิจัยที่ตรงประเด็นตามลำดับขั้นของการวิจัย ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่อง หรือแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

                    1.9 อภิปรายผลการวิจัย (Research Discussion) อภิปรายผลโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการวิจัยให้เข้ากับหลักทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนำข้อค้นพบของงานวิจัยมาอภิปรายเพื่อเชื่อมโยงผลการวิจัยให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัย เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

                    1.10 ข้อเสนอแนะการวิจัย (Research Suggestions) ระบุข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะการวิจัยครั้งต่อไป

                    1.11 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA  (American Psychological Association citation style) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย

         2. บทความวิชาการ

                   หัวข้อและเนื้อหาควรชี้ประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ชัดเจนและมีลำดับเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ชัดเจน รวมถึงใช้ทฤษฎีวิเคราะห์และเสนอแนะประเด็นอย่างสมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้

                    2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยพิมพ์ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและตามด้วยภาษาอังกฤษบรรทัดถัดต่อมา

                    2.2 ผู้นิพนธ์ (Author) ชื่อและนามสกุลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                    2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

                   2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ระบุคำเป็นคำสำคัญของเนื้อหา ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นคำค้นหาข้อมูล

                   2.5 บทนำ (Introduction) เป็นส่วนแนะนำและปูพื้นเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านทราบข้อมูลเบื้องต้นของเนื้อหา

                    2.6 เนื้อหา (Content) เนื้อหาบทความ มีการแบ่งประเด็นเรื่องย่อย ๆ และการจัดเรียงลำดับเป็นไปตามรายละเอียดของเนื้อหา

                    2.7 บทสรุป (Conclusion) การสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดออกมาอย่างชัดเจน กระชับ โดยมีการสรุปปิดท้ายเนื้อหาที่นำเสนอ

                    2.8 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย

          3. บทความปริทัศน์ และบทวิจารณ์หนังสือ

          บทความที่ทบทวนและรวบรวมความรู้จากตำรา หนังสือใหม่ วารสารใหม่ และการแนะนำเครื่องมือใหม่ที่น่าสนใจหรือจากผลงานประสบการณ์ของผู้นิพนธ์มาเรียบเรียงขึ้น โดยมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์เปรียบเทียบในบทความ ควรมีองค์ประกอบดังนี้

                   3.1 บทนำ (Introduction) เป็นการกล่าวถึงความเป็นมาที่จะนำไปสู่การนำเสนอเนื้อหาสาระของบทความ

                   3.2 เนื้อหา (Content) แยกตามประเด็นที่ต้องการนำเสนอให้ครอบคลุม พร้อมการอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้อง

                   3.3 บทสรุป (Conclusion) เป็นการสรุปเนื้อหาในบทความทั้งหมดอย่างชัดเจนและกระชับ

                   3.4 เอกสารอ้างอิง (References) เป็นการอ้างอิงเอกสารในเนื้อหาให้ใช้ระบบ APA (American Psychological Association citation style) ทั้งนี้ การอ้างอิงเอกสารที่เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ ผู้นิพนธ์ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วย

<<ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม>>หลักเกณฑ์การเสนอบทความและคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์