https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/issue/feed
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
2024-11-01T12:31:34+07:00
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพัฒถ์ ลาภจิตร (Asst. Prof. Dr.Siriphat Lapchit)
jhssrru@srru.ac.th
Open Journal Systems
<p><strong>วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์</strong></p> <p><strong>Journal of Humanities and Social Sciences, Surindra Rajabhat University</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-8724 (Print) ISSN 3027-8732 (Online) </strong></p> <p><strong>กำหนดเผยแพร่ : </strong>ปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน) /ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –ธันวาคม)</p> <p><strong>วัตถุประสงค์วารสาร :</strong> ส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยรับบทความวิชาการและบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ขอบเขตของวารสาร</strong> ได้แก่ บทความทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแขนงวิชาที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ การจัดการ สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ การพัฒนาสังคม และการศึกษา ตลอดจนบทวิเคราะห์ที่เสนอทางออกของปัญหาให้แก่สังคม </p> <p><strong>เงื่อนไขการตีพิมพ์ :</strong> ทุกบทความที่ตีพิมพ์ต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อยสามท่าน (Double-Blind Peer Review) ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความในวารสารฉบับนี้ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ</p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เผยแพร่ :</strong> บทความภาษาไทย 3,000 บาท / บทความภาษาอังกฤษ 4,500 บาท </p>
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/276187
การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
2024-05-20T08:53:39+07:00
ณัฐธิดา มณีเรือง
nattida.mnr@gmail.com
พงษ์พิพัฒน์ สายทอง
informatics@msu.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ งานวิจัยนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม โดยมีขั้นตอน 1) การหาแรงบันดาลใจ 2) การระดมความคิด และ 3) การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลสำคัญมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อทางศาสนาองค์ประกอบทางกายภาพ ของสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ 2) กรอบแนวคิดการพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การหาแรงบันดาลใจ การระดมความคิด และการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ได้ผลรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี (𝑥̅=4.13, S.D.=0.77)</p>
2024-11-05T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278086
คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
2024-07-27T09:49:05+07:00
กุลธิดา มาลัยแก้ว
koontida.m@ku.th
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. 2) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำนวน 230 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อม การทำงานที่ปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าในสายงาน ด้านความภาคภูมิใจ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในงาน ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน</p>
2024-11-05T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279034
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน
2024-06-26T17:26:28+07:00
จตุพร เตร่พิมาย
jatuporn.tre@gmail.com
สิรินาถ จงกลกลาง
jatuporn.tre@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 จากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงก่อนและหลัง และ 3) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน โดยการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้าน ครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี จำนวน 3 แผน 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินสมรรถนะการคิดขั้นสูง แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามรายประเด็นศึกษา<br /> ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 41.92 และ 72.91 ตามลำดับ และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลทดสอบการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.58 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 แต่เมื่อคำนวณค่าสถิติแล้ว p-value มากกว่า.05 จึงสรุปได้ว่า หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน กระตือรือร้นร่วมมือกันเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเพื่อความสำเร็จของงาน</p>
2024-11-05T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280781
การศึกษาทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2024-08-26T08:22:54+07:00
ปวีณา คำพุกกะ
paweena.k@ubu.ac.th
อรุณรัตน์ เศวตธรรม
paweena.k@ubu.ac.th
ปดิวรดา ล้อมลาย
paweena.k@ubu.ac.th
สุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์
paweena.k@ubu.ac.th
รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์
paweena.k@ubu.ac.th
<p> เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเน้นย้ำถึงความสำคัญของทักษะทางการเงิน โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ทักษะทางการเงินซึ่งครอบคลุมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการตัดสินใจทางการเงิน มีความสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่วนบุคคลและระดับประเทศ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 2) เปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประชากร คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 2,723 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 675 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenient Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของทักษะทางการเงินทั้งฉบับเท่ากับ 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชายของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีทักษะการเงินในภาพรวม และแยกองค์ประกอบเป็น ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Components) ให้ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสมได้สูงที่สุด 67.335 โดยทักษะทางการเงินสามารถแบ่งได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การก่อหนี้เกินตัว สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 16.308 องค์ประกอบที่ 2 การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 15.028 องค์ประกอบที่ 3 การออมและการลงทุน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 13.124 องค์ประกอบที่ 4 การวางแผนการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 11.923 และองค์ประกอบที่ 5 การปรับตัวทางการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 10.951<br /> สรุปผลการวิจัย การเปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยรวมนักศึกษาชายมีทักษะทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักพบว่าทักษะทางการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การก่อหนี้เกินตัว การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ การออมและการลงทุน การวางแผนการเงิน และการปรับตัวทางการเงิน ซึ่งอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 67.335</p>
2024-11-28T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278468
ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง กรมราชทัณฑ์
2024-07-25T10:13:16+07:00
ศิลาวุฒิ สีชาติ
silawut.s@ku.th
ภิรดา ชัยรัตน์
Silawut.s@ku.th
<p> การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีประชากรข้าราชการจำนวน 127 คน คำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 96 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05<br /> ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีความผูกพันต่อองค์การในด้านบรรทัดฐานอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความผูกพันด้านความรู้สึก และด้านการคงอยู่กับองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน และปัจจัยลักษณะงานมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
2024-12-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278939
การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
2024-07-27T11:54:18+07:00
เกษสุดา งิ้วลาย
ketsuda9567@gmail.com
วิไลวรรณ พรมสีใหม่
Ketsuda9567@gmail.com
ชวนคิด มะเสนะ
Ketsuda9567@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประชากรคือ ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 3,605 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 351 คน กำหนดขนาดตัวอย่างสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหา<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 และรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ ขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการพัฒนาและเปลี่ยน แปลงให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งผลให้สถานศึกษาพัฒนาไปสู่ประสิทธิภาพ</p>
2024-12-03T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278501
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2024-08-06T06:48:42+07:00
อุทัยวรรณ กาญจนโกสุม
uthaiwan1707@gmail.com
<p> การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลองครั้งนี้ เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลศีขรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1 จำนวน 28 คน โดยเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรม 2) สื่อการเขียนโปรแกรมออนไลน์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงจำนวน 12 แผน มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหากับองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 มีค่าความยากง่ายที่ระดับ 0.44-0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.60 ถึง 1.00<br /> ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 86.88/85.36 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7537 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 75.37 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279671
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
2024-07-25T10:24:47+07:00
อาคม ชัยศรี
akhom1638@gmail.com
ประภาพร บุญปลอด
airthecorr@hotmail.com
ธัญเทพ สิทธิเสือ
thanyatep.s@srru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 181 คน จากประชากร จำนวน 336 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.43) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.42) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.41) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.40) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.38) และด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> = 4.37) 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทางการพัฒนาใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ประกอบด้วย 30 แนวทาง</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279770
การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
2024-08-13T07:25:48+07:00
กิตติพล สุวรรณไตรย์
kittipol.su@ksu.ac.th
วรรณธิดา ยลวิลาศ
wantida.yo@ksu.ac.th
ปวีณา ขันธ์ศิลา
paweena.kh@ksu.ac.th
สายหยุด ภูปุย
saiyut.ph@ksu.ac.th
<p> การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 5 คน นักออกแบบ จำนวน 3 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 98 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยแบบตั้งคำถามสู่โอกาส แบบระดมสมอง แบบใบแสดงความคิด แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบต้นแบบแสดงแนวคิด 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ 3) แบบทดสอบความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีค่าความยากง่ายของแบบทดสอบแต่ละข้อมีค่า ตั้งแต่ 0.27-0.77 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.22-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของ แบบทดสอบเท่ากับ 0.88 และ 4) แบบประเมินสะท้อนคิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ <br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักการออกแบบซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญสำหรับใช้การออกแบบต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยกำหนดองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ บทบาทของครูผู้สอน บทบาทของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลงานและภาระงานของผู้เรียน 2) ผลการทดสอบใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับคุณภาพระดับดีและดีเยี่ยม ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนพบว่า ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้นี้ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้กิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้นและสามารถรับรู้ความรู้ได้ดีขึ้นความพร้อมในการเรียนรู้ แสดงความพร้อมในการเรียนรู้มากขึ้น การประเมินและสะท้อนคิดจากการทดลองในบริบทจริงพบว่าการสะท้อนคิดและประเมินยืนยันถึงความสำเร็จของชุดกิจกรรมในการส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น</p>
2024-12-09T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/278571
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
2024-08-04T14:18:17+07:00
กาญจนา สีสวาท
agoon.namjan@gmail.com
พรรนิพา พวันนา
agoon.namjan@gmail.com
วัญเพ็ญ คงเพ็ชร
agoon.namjan@gmail.com
วิไลลักษณ์ โคมพันธุ์
agoon.namjan@gmail.com
มณีรัตน์ น้ำจันทร์
agoon.namjan@gmail.com
<p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติการทดสอบทีและเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงพระบางวิทยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การหาค่าอำนาจจำแนก / ค่า IOC / ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย ได้ค่า 0.4-0.8 / 1.00 / 0.79 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ผลการวิจัย พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=32.54) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=13.79) และเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับดี จากผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาได้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279600
องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา
2024-08-19T21:59:48+07:00
จิราภรณ์ จำเริญดี
jluktong@gmail.com
อภิสิทธิ์ สมศรีสุข
apisit_edu@snru.ac.th
นวพร วรรณทอง
nawaphorn.w@snru.ac.th
<p> การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนทางการบริหารและพัฒนาการศึกษาในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบูรณาการ และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยภาพรวมองค์ประกอบมีความเหมาะสมมากที่สุด</p>
2024-12-17T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/279561
การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน
2024-07-27T14:34:33+07:00
กิตติภัฎ ฤทธิ์สุวรรณ
yoyo37386@gmail.com
เอกลักษณ์ เพียสา
akkaluckpheasa@gmail.com
วาโร เพ็งสวัสดิ์
Khaitoy8@gmail.com
<p> การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน และ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน<br /> ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรู้ดิจิทัล (2) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (3) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ(4) การสื่อสารดิจิทัล 2) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.65) เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรู้ดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =5.0) รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.80) และการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" />=4.80) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสื่อสารดิจิทัล (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\bar{x}" alt="equation" /> =4.00)</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/281012
A Study on the Use of the Context Clues as Tools for Reading Comprehension
2024-08-30T16:31:13+07:00
Asana Cherdchoo
asana.ch9271@gmail.com
<p> English Language has too many words for individual learners to learn them all. Thus, it is imperative that they have to know how to utilize the techniques to learn new words and when to use them. The research aims to study the using of the contextual clues, and to enable readers of English to understand the clues and utilization. The target samples were thirty students who majored in Business English from the Faculty of Humanities and Social Sciences, Sisaket Rajabhat University. They were derived by a specific sampling. The research instruments were the subjective test of 20 items, and the interview forms. Data were collected by having the target samples do the text. After the test, the subjects were interviewed. Data which were obtained from the test were analyzed by One Sample t-Test and interviews were analyzed to gain the guidelines to enhance the ability of readers or learners of English. The results found that the test results of learning performance based on the context clues less than 80% with statistical significance (.00*). There are 8 components for enable readers of English to understand the clues and utilization including the understanding the definition or detailed in a sentence, contrast meaning, synonyms of word or phrase, logic of the passage clues, cause and effect of meaning, word analysis, punctuation marks, and signal words or transition words.</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/280572
The Role of Cultural Heritage in Design Education : A Case Study of Suzhou Lattice Windows
2024-11-01T12:31:34+07:00
Wang Qiong
65012451001@msu.ac.th
Sakchai Sikkha
Sakchaiubu@hotmail.com
<p> Suzhou, renowned for its architectural heritage, including the art of lattice windows in its gardens, is a focus of cultural and educational significance. This research investigates the incorporation of traditional lattice windows into modern design education in Suzhou. Utilizing literature reviews, field studies, and case analyses, the study explores effective methods to integrate traditional cultural elements into contemporary educational frameworks. Results indicate that incorporating Suzhou lattice windows enriches curriculum content, boosts students' creativity, and enhances their understanding of cultural heritage. This fosters a deeper cultural identity and improves design skills, offering valuable insights for advancing design education and preserving cultural heritage.</p>
2024-12-20T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2024 วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์