การจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพประชาชน ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มาโนชฐ์ ลาภจิตร ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง) จังหวัดนครราชสีมา
  • ชณัฐตา แซ่เลี้ยง ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง) จังหวัดนครราชสีมา
  • รุ่งเรือง แซ่เลี้ยง ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง) จังหวัดนครราชสีมา
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, หลักสูตรท้องถิ่น, การปลูกมะม่วง, ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงสำหรับผู้เรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอปากช่อง (ศสกร.) จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง สำหรับประชาชนผู้เรียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนหรือประชาชน ศสกร.ระดับอำเภอปากช่อง ที่ลงทะเบียนเรียนหลักสูตรท้องถิ่นจำนวน 18 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกต แบบประเมินชิ้นงาน ใบวัดความรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถาม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า
     1. การจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพประชาชน ได้พัฒนาหลักสูตรขึ้นร่วมกันระหว่างผู้เรียน ชุมชน ภูมิปัญญา ครูและผู้สอน เป็นหลักสูตรบูรณาการที่จัดการเรียนรู้ด้วยการศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน แล้วนำวิเคราะห์จัดทำหลักสูตรและเนื้อหา วิธีการสอนแบบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ จำนวน 40 ชั่วโมง โดยเนื้อหาของหลักสูตร มีดังนี้ 1) ช่องทางการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง 2) ทักษะการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง 3) การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพการปลูกมะม่วง ซึ่งมีการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ 2) ขั้นวิธีการสอน 3) ขั้นประเมินผล และ 4) ขั้นสรุปผล
     2. ผลจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วงเพื่อส่งเสริมอาชีพ พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติลงมือทำในแปลงมะม่วง เกิดทักษะในการปลูก การทาบและตอนกิ่งมะม่วงการบำรุงดูแลรักษา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นำเสนอถ่ายทอดเทคนิควิธีการปลูกมะม่วงการจำหน่ายมะม่วงโดยผ่านช่องทางออนไลน์ การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
     3. ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้หลักสูตรท้องถิ่นการปลูกมะม่วง โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้เรียนที่มีความพึงพอใจมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ย ดังนี้ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านครูและผู้สอน ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ ด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). พระราชบัญญัติการส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเรียนรู้.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

กศน.อำเภอปากช่อง. (2565). รายงานสรุปผลการดำเนินงานศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปากช่อง. นครราชสีมา : กศน.อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา.

จุรี ทัพวงษ์, ปวริศา จรดล และนภาภรณ์ ธัญญา. (2567, มกราคม-มีนาคม). “รูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับผู้เรียนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของวิทยาลัยเทคนิคบางแสน.” วารสารพุทธจิตวิทยา. 9(1) : 37-50.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ณัฐธิดา ดวงแก้ว. (2565, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 17(2) : 129-143.

ณัฐรุจา ท่าโทม. (2565). ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดารุณี เดชยศดี. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตและอาชีพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียานุช มีจาด. (2564, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นเรื่องการเพิ่มมูลค่าการแปรรูปอาหารจากกล้วยน้ำว้า สำหรับกลุ่มสตรีและเยาวชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทับผึ้ง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย.” วารสารครุพิบูล. 8(2) : 279-291.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). “แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัย ตามแนวคิดของบลูม และคณะ ฉบับปรับปรุง.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 3(2) : 13 - 25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)