สภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • นิกรณ์ นิลพงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เศวตาภรณ์ ตั้งวันเจริญ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ชวนคิด มะเสนะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, สมรรถนะครู, การบริหารหลักสูตร, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอนและขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 21 คน ครูผู้สอน 330 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า ที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน 8 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา อุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยภาพรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์สอนและขนาดโรงเรียน พบว่าโดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ พบว่า 3.1) ด้านการสร้างและพัฒนาหลักสูตร ควรศึกษาหลักสูตรแกนกลาง โครงสร้างหลักสูตร วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและชุมชน ครูทุกคนมีส่วนร่วม มีความทันสมัยและเหมาะสม มีการประเมินหลักสูตรเพื่อนำไปปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา 3.2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้ ควรสอดคล้องกับตัวชี้วัด ส่งเสริมกระบวนการคิด มีความหลากหลาย เหมาะสมกับสาระ วัยและความแตกต่างระหว่างบุคคล ปรับใช้ตามสถานการณ์ ผู้เรียนมีส่วนร่วม 3.3) ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมศักยภาพตามความสนใจ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 3.4) ด้านการใช้และพัฒนาสื่อนวัตกรรมเทคโนโลยี ควรมีความรู้ด้านหลักการใช้และพัฒนาสื่อ สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร เหมาะสมกับผู้เรียนและมีความหลากหลาย และ 3.5) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ควรมีความรู้ด้านการวัดและประเมินผล ควรวางแผน กำหนดนโยบายการวัดและประเมินผล สอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด มีการประเมินผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้

Downloads

Download data is not yet available.

References

จริยาภรณ์ ตู้คำมูล. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการ จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จอย ทองกล่อมศรี. (2560, กรกฎาคม - ธันวาคม). “แนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของครู.” วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 10(2) : 86-87.

ตุลยา ธีรวิโรจน์. (2563, มกราคม – เมษายน). “สภาพและแนวทางการพัฒนาครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์.” วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 1(2) : 119-124.

เทียนชัย ทาเงิน. (2567, พฤษภาคม 21). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนจิกดู่วิทยา. สัมภาษณ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บูรณี กรุณา. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูต่างชาติในโรงเรียนสองภาษา กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านสันกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ปิยาภรณ์ พุ่มแก้ว, ศิริยุภา พูลสุวรรณ และดารกา วรรณวนิช. (2558). “การพัฒนาครูด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้บนฐานความต้องการของผู้เรียน.” ใน การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. หน้า 49-58. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปุณฑริกา นิลพัฒน์. (2558). สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

รณชัย ธรรมราช. (2567, พฤษภาคม 23). ผู้อำนวยการโรงเรียนนายมวิทยาคาร. สัมภาษณ์.

วนิดา สร้อยจิต. (2567, พฤษภาคม 23). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนนายมวิทยาคาร. สัมภาษณ์.

วารุณี ผลเพิ่มพูล และชูชีพ ประทุมเวียง. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). “ทำการศึกษาสมรรถนะของข้าราชการครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3.” วิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 2(2) : 66.

สถาพร ทิมา. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในยุค 4.0 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิซาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3. พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 –2565). ม.ป.ท.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการยกระดับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ : สานักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา (สกศ.).

สุกิจ จันทบาล. (2567, พฤษภาคม 20). ผู้อำนวยการโรงเรียนอำนาจเจริญ. สัมภาษณ์.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.

อภิสิทธิ์ ต้องสู้. (2567, พฤษภาคม 27). ผู้อำนวยการโรงเรียนเสนางคนิคม. สัมภาษณ์.

เอกพงศ์ บัวชุม. (2567, พฤษภาคม 20). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอำนาจเจริญ. สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)