บทบาทพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาการศึกษาสงเคราะห์ ในเขตอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
บทบาท, พระสังฆาธิการ, การพัฒนา, การศึกษาสงเคราะห์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการศึกษาสงเคราะห์ของคณะสงฆ์อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทของพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายจำนวน 35 รูป/คน คือ 1) กลุ่มพระสังฆาธิการ 2) กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น 3) กลุ่มราชการ 4) กลุ่มประชาชนทั่วไป 5) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน 6) กลุ่มนักวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนา แล้วนำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ไม่มีการดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับเอาไปดำเนินการทั้งหมด และด้านการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี
บทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับเอาไปดำเนินการทั้งหมด คณะสงฆ์จึงมีบทบาทน้อย 2) ด้านการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ คณะสงฆ์อำเภอสังขะ มีบทบาทด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
แนวทางส่งเสริมบทบาทพระสังฆาธิการด้านการศึกษาสงเคราะห์ในจังหวัดสุรินทร์ มี 2 ด้าน คือ 1) ด้านศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัด มีแนวทางส่งเสริม ได้แก่ (1) ส่งเสริมด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ (2) ส่งเสริมด้านอาคารสถานที่ (3) ส่งเสริมด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร (4) ส่งเสริมด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน 2) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ในการสนับสนุนทุน วัสดุหรืออุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนตามสถานศึกษาต่าง ๆ ควรดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) ควรจัดสรรรายได้ประจำปีของวัดมาช่วยเหลืออย่างชัดเจน (2) ควรหางบประมาณในการจัดสภาพแวดล้อมโรงเรียน (3) ควรจัดหาอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการศึกษาให้มีความทันสมัย และ (4) ควรจัดบริการแนะแนวทางการศึกษาแก่นักเรียนผ่านทางกิจกรรมทางศาสนา เป็นต้น
เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนเก่งและดี
Downloads
References
กองศาสนศึกษา กรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการปฏิบัติงานของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.
ทวี ขจรกุล. (2547). บทบาทเจ้าอาวาสในการบริหารจัดการวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นณริฏ พิศลยบุตร. (2559). “ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของไทย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2016/05/pier-4/ สืบค้น 29 พฤศจิกายน 2565.
พระครูธรรมศาสน์อุโฆษ (ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรธมฺโม). (2556). บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนนทมงคลวิศิษฐ์. (2556). บทบาทพระสังฆาธิการต่อการพัฒนา สังคมในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสิริธรรมวิสิฐ (พรสวัสดิ์ ฐิตธมฺโม) และคณะ. (2565, ธันวาคม 30). “การบริหารกิจการคณะสงฆ์ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์.” วารสารมหาจุฬาคชสาร. 13 (2) : 78-92.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532). การศึกษาที่สากลบนพื้นฐานแห่งภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พระไพศาล สุทฺธจิตฺโต (โนทายะ). (2555). การบริหารงานโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาบุญมี อธิปุญโญ. (2544). บทบาทของพระสังฆาธิการพัฒนาสังคม : ศึกษากรณีพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระมหาพรประสงค์ พุทธจันทร์. (2552). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล). (2556). การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสน่ห์ แตงทอง. (2542). ภาพอนาคตทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาในทศวรรษหน้า : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านคลองตัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.