ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การเปลี่ยนแปลง, โลกยุคบานี่, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3) เพื่อหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 181 คน จากประชากร จำนวน 336 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสนทนากลุ่ม ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.40) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับดังนี้ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ( = 4.43) ด้านการมีวิสัยทัศน์ ( = 4.42) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( = 4.41) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ( = 4.40) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ( = 4.38) และด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ( = 4.37) 2) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคบานี่ของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แนวทางการพัฒนาใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ประกอบด้วย 30 แนวทาง
Downloads
References
จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2565). “ลาก่อน VUCA มาแล้ว BANI : ชวน ผอ. ปรับตัวและโรงเรียนให้ทันการเปลี่ยนแปลง.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.educathai.com/knowledge/articles/652 สืบค้น 4 มกราคม 2567.
ไทยโพสต์. (2565). “ปลัดศธ.ชี้โลกเข้าสู่ยุค BANI World รวมความปั่นป่วนไว้ทั้งหมด กระทบการศึกษา โดยตรง มอบนโยบายรับมือ อุดเรียนรู้ถดถอย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaipost.net/education- news/255668/ สืบค้น 4 มกราคม 2567.
ทศพร สิทธิโชติ. (2560). อนาคตภาพการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืนในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2559-2568) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิตรพิบูล มนทาน้อย. (2566). ความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วงศกร เพียรชนะ. (2566). ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษา พ.ศ. 2566 - 2570 เอกสารสารลำดับที่ 1/2566. สุรินทร์ : กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
หนึ่งฤทัย ไชยหมื่น. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงใหม่. การศึกษาอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
Bass, B.M. and Avolio, B. (1994). “Transformational Leadership and Organizational Culture.” Public Administration Quarterly. 17 : 112-121.
Jamais Cascio. (2022). “A framework for understanding a turbulent world.” [Online]. Available : https://ageofBANI.com/ Retrieved January 10, 2024.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607-610.