องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเรียนรู้, ผู้บริหารสถานศึกษา, การเรียนรู้เป็นทีม, การเรียนรู้ด้วยการนำตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 10 แหล่ง ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนทางการบริหารและพัฒนาการศึกษาในมหาวิทยาลัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารและแบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้เป็นทีม ความคิดสร้างสรรค์ การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การบูรณาการ และการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง โดยภาพรวมองค์ประกอบมีความเหมาะสมมากที่สุด
Downloads
References
กนกอร กวานสุพรรณ. (2560, พฤษภาคม - สิงหาคม). “การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะการเรียนตามแนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2) : 1-13.
กนกอร สมปราชญ์. (2560, มกราคม - เมษายน). “ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : การศึกษาทฤษฎีฐานราก.” วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 12(34) : 51 - 66.
จิราภรณ์ จำเริญดี และคณะ. (2567). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมการศึกษาสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จิตกมล โคตรทองหลาง. (2564, เมษายน -มิถุนายน). “การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(7) : 159-169.
ต่วนฮัสนะห์ ลาดอ. (2567, มกราคม - เมษายน). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 35(1) : 107-121.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ธีร์ ภวังคนันท์. (2565, มกราคม - เมษายน). “การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษา.” วารสารครุศาสตร์ปัญญา. 1(2) : 35-46.
นภาพร ศรีสุคันธพฤกษ์. (2566, มีนาคม). “แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร.” วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7(3) : 117-131.
รมิดา เศรษฐบดี. (2566). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ลักษวงษ์ จิระสุวรรณภักดี. (2566, พฤษภาคม - สิงหาคม). “ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล.” วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 41(2) : 220-238.
สมชาย เทพแสง. (2566, กรกฎาคม - ธันวาคม). “ทักษะอนาคตที่จำเป็นสำหรับผู้นำ.” วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา. 2(2) : 17-32.
สริษา คําหนัก. (2567, มีนาคม - เมษายน). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1.” วารสารมณีเชษฐารามวัดจอมมณี. 7(2) : 143-157.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. (2566). “แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.sesaosakon.go.th/web 2023/?page_id=12057 สืบค้น 15 เมษายน 2567.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). “ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.senate.go.th สืบค้น 15 เมษายน 2567.
หทัยรัตน์ วิโย. (2564, มกราคม - มีนาคม). “ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 จังหวัดหนองคาย.” วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(1) : 223-238.
อนุนิดา ยนต์ศิริ. (2566, พฤษภาคม - สิงหาคม). “ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลตามการรับรู้ของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร.” วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(2) : 159-172.
Fullan, M. (2014). Teacher development and educational change. Routledge.
Kouzes, J.M., & Posner, B.Z. (2016). Learning leadership: The five fundamentals of becoming an exemplary leader. John Wiley & Sons.
Leithwood, K. (2006). “The 2005 Willower family lecture : Leadership according to the evidence.” Leadership and Policy in schools. 5(3) : 177-202.
Rayner, S. (2009, November). “Educational diversity and learning leadership : a proposition, some principles and a model of inclusive leadership?.” Educational Review. 61(4) : 433 - 447.
Robinson, V. M., Lloyd, C. A., & Rowe, K. J. (2008). “The impact of leadership on student outcomes : An analysis of the differential effects of leadership types.” Educational administration quarterly. 44(5) : 635 - 674.
Schrum, L., & Levin, B. B. (2016). “Educational technologies and twenty-first century leadership for learning.” International Journal of Leadership in Education. 19(1) : 17-39.
Tubin, D. (2013). “Learning leadership for innovation at the system level : Israel.” In Leadership for 21st Century Learning. OECD.