การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน

ผู้แต่ง

  • กิตติภัฎ ฤทธิ์สุวรรณ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • เอกลักษณ์ เพียสา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • วาโร เพ็งสวัสดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

องค์ประกอบภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล, ผู้บริหารโรงเรียน

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 21 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน และ ขั้นตอนที่ 2 การประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้แก่ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน และครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การรู้ดิจิทัล (2) การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (3) การสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล และ(4) การสื่อสารดิจิทัล 2) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ผลการประเมินความเหมาะสมองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน มีความเหมาะสมในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (equation =4.65) เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ การรู้ดิจิทัล (equation =5.0) รองลงมามีค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ การมีวิสัยทัศน์ดิจิทัล (equation =4.80) และการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล ( equation=4.80) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสื่อสารดิจิทัล (equation =4.00)

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกกาญณ์ สุรันนา. (2566). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์ สขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565, 29 ธันวาคม). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.

กัญญาภัค จูฑพลกุล และทัศนะ ศรีปัตตา. (2565). “ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(10) : 271-284.

กันต์์กมล ลียวัฒนานุพังศ์. (2567). “แนวทางการพััฒนาภาวะผู้้นําเชิิงดิิจิิทัลของผู้้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์.” วารสารบัณฑิตมหาจุฬาขอนแก่น. 11(2) : 347-362.

กิตติพิชญ์ คําแผ่นจิรโรจน์. (2567). “โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3.” วารสารวิชาการแสงอีสาน. 21(1) : 46-60.

คมสัณห์ จันสอน. (2566). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.” วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6(2) : 219-231.

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นํา=Leadership. กรุงเทพฯ : วันบริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จํากัด.

จิรายุ เถาว์โท. (2565). “การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลขอ’ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 14(2) : 107-123.

ชลนที พั้วสี และสุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). “ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2.” สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 8(2) : 56-64.

ชาญยุทธิ์ วงคุย อาทิตย์ ฉัตรชัยพลรัตน์ และกุหลาบ ปุริสาร. (2567, มกราคม–มีนาคม). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.” วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 14(1) : 121-135.

ณัฏฐิตา สงค์แก้ว. (2565). “ภาวะผูนําดิจิทัลของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1.” วารสารสมาคมนักวิจัย. 27(3) : 49-64.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล =Digital Leadership. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร บัวชู และทิพภาพร บัวชู. (2562). “ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา.” วารสารครุศาสตร์สารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 13(2) : 285-594.

ธีระนันต์ โมธรรม. (2566). “องค์ประกอบภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม.” วารสารวิจัยวิชาการ. 6(3) : 77-92.

นาราภัทร แซ่หว้า. (2567). “การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3.” วารสารราชพฤกษ์. 22(2) : 98-113.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ฝนทิพย์ หาญชนะ และคึกฤทธิ์ ศิลาลาย. (2565). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนสหวิทยาเขตชลบุรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6) : 117-133.

พงษ์์ศัักดิ์ ผกามาศ. (2566). “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร.” คุรุสภาวิทยาจารย์. 4(2) : 132-147.

พรมา จันทรโคตร, วัลนิกา ฉลากบาง และวันเพ็ญ นันทะศร (256, มีนาคม-เมษายน). “องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารวิจัยวิชาการ 7(2) : 163-180.

พลธาวิน วัชรทรธำรงค์. (2565). “ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3.” วารสารครุศาสตร์สาร. 16(2) : 219-231.

ภารดี อนันต์นาวี. (2565). “ผู้บริหารสถานศึกษา : ภาวะผู้นำ.” วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 11(2) : 1-12.

เมธาพร สาริการณ์. (2567). “ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้บริหารโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขาสมิง-บ่อไร่สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี-ตราด.” วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 9(1) : 849-860.

รัชต์วดี สัจธรรมธนพิธ. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์. 17(2) : 177-186.

วรวรรณ อินทร์ชู และจิติมา วรรณศรี. (2565). “ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(6) : 300-311.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วีระพล สันโดษ. (2567). “ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6.” วารสารวิชาการแสงอีสาน. 21(1) : 93-109.

ศศิรดา แพงไทย. (2567). “รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู.” วารสารเสฏฐวิทย์ปริทัศน์. 4(2) : 441-451.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). “แผนแม่บทการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ระยะที่ 2 2566-2567.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.depa. or.th/th/master-plan-digital-economy/master-plan-for-digital-economy-66-67.

สุทธินันท์ ชื่นชม, กัลยา ใจรักษ์ และอำนาจ โกวรรณ. (2564). “รูปแบบการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้.” วารสารสารสนเทศศาสตร์. 39(2) : 17-33.

สุพิชา คิดค้า. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานทั่วไปในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เสาวลักษณ์ วิลัยลักษณ์. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

อนุสรณ์ นามประดิษฐ์, วริศนันท์ เดชปานประสงค์ และธีรพนธ์ คงนาวัง. (2565). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนในเครือสารสาสน์ จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น. 4(2) : 68-83.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ และวัลลภา อารีรัตน์. (2564). “องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4.”ใน การประชุมผลงานวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22 วันที่ 24 มีนาคม 2564. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

International Society for Technology in Education. (2018). “International Society for Technology in Education. - ISTE 2018.” [Online]. Available : https://www.tsnn.com/events/international-society-technology-education-iste-2018.

N. Hafiza Hamzah, M. Khalid M. Nasir, Jamalullail Abdul Wahab. (2021). “The Effects of Principals’ Digital Leadershipon Teachers’ Digital Teaching during the Covid-19 Pandemic in Malaysia.” Journal of Education and e-Learning Research, 8(2): 216-221.

Norma Ghamrawi, Rana M. Tamim. (2023). “A typology for digital leadership in higher education: the case of a large-scale mobile technology initiative (using tablets). Education and Information Technologies.” 28(3) : 7089-7110.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)