การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • จตุพร เตร่พิมาย นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน, การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ, สมรรถนะการคิดขั้นสูง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 จากการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงก่อนและหลัง และ 3) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามแนวคิดโครงงานเป็นฐาน โดยการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้าน ครบุรีนครธรรมโฆสิตวิทยาคาร อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 12 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ขายอะไรกำไรดี จำนวน 3 แผน 15 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินสมรรถนะการคิดขั้นสูง แบบสังเกตสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามรายประเด็นศึกษา
     ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 41.92 และ 72.91 ตามลำดับ และหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลทดสอบการเรียนรู้หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 14.58 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 แต่เมื่อคำนวณค่าสถิติแล้ว p-value มากกว่า.05 จึงสรุปได้ว่า หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการคิดขั้นสูงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผลศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ พบว่า บรรยากาศในชั้นเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์แปลกใหม่ นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในการทำงาน กระตือรือร้นร่วมมือกันเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นภายในกลุ่มเพื่อความสำเร็จของงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลพร ทองธิิยะ และกิตติชัย สุุธาสิโนบล. (2564). “การพัฒนาการคิดขั้้นสููง : ความสามารถทางสติปัญญาที่่สำคัญในโลกยุุค New Normal.” วารสารศึกษาศาสตร์์ มหาวิิทยาลััยศิิลปากร. 19(2) : 28-44.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.

กิติพงษ์ ลือนาม. (2564). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา : โคราชมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ โปรดักชั่น.

ณัฐริกา สิทธิชัย และคณะ. (2562). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ เรื่องสถิติ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี.” วารสารการวัดผลการศึกษา. 36(100) : 93 - 109.

ณัฐวดี กูละพัฒน์ และสิรินาถ จงกลกลาง. (2565). “การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.” วารสารราชพฤกษ์. 20(1) : 61-70.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2556). วิจัยการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิโสภิต แพงศรี. (2561). “การสอนแบบโครงงานเป็นฐาน: การประยุกต์สู่การปฏิบัติ ในการจัดการศึกษาพยาบาล.” วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 29(1) : 221.

สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). วิทยาการการจัดการเรียนรู้. ปรับปรุงครั้งที่ 2. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

______. (2564). เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง การออกแบบการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สิรินทร์นิชา ปัญจอริยะกุล. (2563). การวิจัยและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่ : ส.อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี.

สุนันท์ สีพาย. (2564). การพัฒนาเครื่องมือรวบรวมข้อมูลการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชัยภูมิ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

อนุชา ชาติรัมย์. (2564). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.” วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(9) : 65–78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)