การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประชากรคือ ผู้บริหารและข้าราชการครู สังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ จำนวน 3,605 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 351 คน กำหนดขนาดตัวอย่างสำเร็จรูปของ Krejcie & Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.40 และรายด้าน ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 พบว่า จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำแนกตามประสบการณ์ ขนาดของสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีบทบาทเป็นผู้นำในการพัฒนาและเปลี่ยน แปลงให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง สร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงาน แก้ไขปัญหา และพัฒนา ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งผลให้สถานศึกษาพัฒนาไปสู่ประสิทธิภาพ
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐพล ธิตา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.
ธนิต รัตนศักดิ์ดา. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
พิทักษ์ พันธุวาปี. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วรรณกร โชมขุนทด. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วรวุฒิ จิรสุจริตธรรม ฉลอง ทับศรี และสมโภชน์ อเนกสุข. (2565, กุมภาพันธ์). “ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเมืองปทุมธานีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(2) : 204-219.
วิศวะ ผลกอง. (2562). ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2565 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. งานวัดผลและประเมินผลการจัดการศึกษา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ประจำปีงบประมาณ 2565. อุบลราชธานี : กลุ่มนโยบายและแผน.
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
อัษฎาวุธ บุญเกิด. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607–610.
Miriam D. E. (2020). “Principal and teacher instructional leadership : a cultural shift.” International Journal of Educational Management. 34(3) : 576-585.