การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • กาญจนา สีสวาท หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • พรรนิพา พวันนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • วัญเพ็ญ คงเพ็ชร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • วิไลลักษณ์ โคมพันธุ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • มณีรัตน์ น้ำจันทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติการทดสอบทีและเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 และ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2566 โรงพระบางวิทยา จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ และแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การหาค่าอำนาจจำแนก / ค่า IOC / ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย ได้ค่า 0.4-0.8 / 1.00 / 0.79 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือวิจัยนี้สามารถนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ผลการวิจัย พบว่า คะแนนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( equation=32.54) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ( equation=13.79) และเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยรวมอยู่ในระดับดี จากผลการวิจัยทั้งหมดสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพสามารถพัฒนาได้โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กัญญา ศรีติ้ง. (2556). การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศึกษา วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

กนกวรรณ เขียวน้ำชุม, อภิสิทธิ์ สมศรีสุข และวาโร เพ็งสวัสดิ์. (2563). “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนบ้านดงน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2”. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 12(33) : 19-26.

กนิษฐา เทาสี, สิรินภา กิจเกื้อกูล และมลิวรรณ นาคขุนทด. (2563). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและทักษะการทำงานกลุ่ม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต.” Journal of Education Naresuan University. 22(2) : 31-48.

กมลชนก จันทร, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ และปริญญา ทองสอน. (2565). “ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาเคมีโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 20(1) : 143-158.

กิตติศักดิ์ ใจอ่อน และกตัญญุตา บางโท. (2565). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 24(1) : 99-109.

จิตติ์โศภิณ บุญเชิด และวาสนา กีรติจำเริญ. (2563). “การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษาและความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.” วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 14 (4) : 251-263.

ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, และเชษฐ ศิริสวัสดิ์. (2564). “การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 49(4) : 1-13.

ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัชทร โพธิน้อย. (2561). การใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดสองพี่น้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บัวรัตน์ ศรีนิล. (2560). เอกสารประกอบการเรียน การออกแบบวิจัยธุรกิจ การเก็บรวบรวมข้อมูลการออกแบบสอบถามและการเลือกตัวอย่าง. เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิยะพันธ์ พิชญ์ประเสริฐ, อัจฉรีย์ พิมพิมูล และมาลีรัตน์ ขจิตเนติธรรม. (2562). “องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้สื่อออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดเดอะบิกซิกและกระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่มสืบสอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.” วารสารศึกษาศาสตร์. 30(3) : 174-184.

ปิยะวัตร ผิวศิริ และปาริชาติ ภูภักดี. (2567). “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน บูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง การคูณและการหารทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/5.” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ ครั้งที่ 10 ประจำปี พ.ศ. 2567 “วิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา Soft Power ท้องถิ่นสู่การสร้างสรรค์ระดับ”. หน้า 9-13. เลย : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ปรียานุช ใจหาย และภาสกร ภักดิ์ศรีแพง. (2567). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เรื่อง ระบบนิเวศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (5E) ร่วมกับบอร์ดเกม.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 35(1) : 56-70.

พงศกร ลอยล่อง, เยาวเรศ ใจเย็น และปวริศา จรดล. (2564). “การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเคลื่อนที่และแรง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL).” วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15(2) : 109-117.

พันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และ วิทยา ทองดี. (2565). “การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.” วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7(1) : 967-976.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มัญชสุ เลานอก. (2565). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก

ศรีวิภา พูลเพิ่ม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ่อกรุวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุธิดา ทองคำ. (2565). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี.” วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 39(1) : 36-50.

อทิยา ลิขิตจรรยารักษ์, ดวงเดือน สุวรรจินดา, และจุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2565). “ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เซลล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจะนะชนูปถัมภ์ จังหวัดสงขลา.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 23(1) : 89-101.

อนุชาติ ศรีศิริวัฒน์, พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ภาณี น้อยยิ่ง และสมศักดิ์ แก้วพันธ์. (2559). “การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา.” Journal of Education Studies Journal of Education Studies. 44(4) : 218-230.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)