การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน, วิชวลโปรแกรมมิ่ง, ทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในทดลองครั้งนี้ เป็นผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนอนุบาลศีขรภูมิ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1 จำนวน 28 คน โดยเลือกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรม 2) สื่อการเขียนโปรแกรมออนไลน์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้รายชั่วโมงจำนวน 12 แผน มีค่าความสอดคล้องของเนื้อหากับองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้อยู่ที่ระดับ 0.60-1.00 มีค่าความยากง่ายที่ระดับ 0.44-0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.44 ขึ้นไป มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจข้อคำถามจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา 0.60 ถึง 1.00
ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2) เท่ากับ 86.88/85.36 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7537 ซึ่งแสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 75.37 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่งที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กฤษฎากร ผาสุก. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานบูรณาการสะเต็ม ศึกษาวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กานต์ชนก ทางนที. (2565). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบสืบสอบหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation: GI) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธิติวัฒน์ ทองคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณแบบผสมผสานร่วมกับวิชวลโปรแกรมมิ่ง เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ และพนมพร ดอกประโคน. (2559). “เกมบนโปรแกรมเชิงจินตภาพ และแนวคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ.” Journal of Information Science and Technology. 6(6) : 9-16.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น
____. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กาฬสินธุ์ : ประสารการพิมพ์.
ยุราพร ผดุงกรรณ์. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานเรื่องการเขียนโปรแกรมภาษา รูปภาพสำหรับระบบควบคุมอัตโนมัติพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิจัยและทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เลอสันต์ ฤทธิขันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับทฤษฎีการขยายความคิดเพื่อส่งเสริมการถ่ายโยงการเรียนรู้ และทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิชัย วงใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). “Coaching Coding.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.curriculumandlearning. com/upload/Books/Coding_1566960312.pdf. สืบค้น 20 มกราคม 2566.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). “แนวทางการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ Coding เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://opendata.nesdc.go.th/dataset/research-2564-5 สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566.