ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง กรมราชทัณฑ์
คำสำคัญ:
ความผูกพันต่อองค์การ, ปัจจัยส่วนบุคคล, ปัจจัยลักษณะงาน, ข้าราชการฑัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง, กรมราชทัณฑ์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านลักษณะงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีประชากรข้าราชการจำนวน 127 คน คำนวณจากสูตรทาโร ยามาเน (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำนวน 96 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษา พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางมีความผูกพันต่อองค์การในด้านบรรทัดฐานอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ความผูกพันด้านความรู้สึก และด้านการคงอยู่กับองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ข้าราชการทัณฑสถานวัยหนุ่มกลางที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน และระยะเวลาในการทำงานต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน และปัจจัยลักษณะงานมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการทัณฑสถาน วัยหนุ่มกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
References
จิตต์ชนก เอื้อชลิตนุกูล. (2560). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของกลุ่มพนักงาน Generation Y ในองค์กรต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชูชัย สมิทธิไกร และพงษ์จันทร์ ภูษาพานิชย์. (2560). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่องานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.” Kasetsart Journal of Social Sciences. 38 : 655 – 667.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดาวิณี แสงลี. (2559). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์. การค้นคว้าอิสระ สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
ทิพย์ชนก เสนผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมการข้าว. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทียนศรี บางม่วงงาม. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรที่ผ่านโครงการอบรมวิศวกรใหม่ กรณีศึกษา : บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยเกริก.
พิรญาณ์ น้ำแก้ว. (2563). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มัทวัน เลิศวุฒิวงศา. (2564). ความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของพนักงานเอกชน กรณีศึกษาบริษัทจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์แห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “ความผูกพันในองค์การ.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 4(1) : 32-46.
Buchanan, B. (1974). “Building organizational commitment : The socialization of managers in work organizations.” Administrative Science Quarterly. 19 : 533-546.
Hackman, J. R., & Oldham, G. R. (1976). “Motivation through the design of work : Test of a theory.” Organizational behavior and human performance. 16(2) : 250-279.
Luthans, F. (1992). Organizational behavior. New York : McGraw-Hill.
Steers, R, M. (1977). “Antocedents and Outcome of Organizational Commitment.” Administrative Science Quarterly. 22.