คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา มาลัยแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ปัจจัยส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. 2) ศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้ คือ บุคลากรสำนักงาน ก.พ. จำนวน 230 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรของ Taro Yamane และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. มีคุณภาพชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านสภาพแวดล้อม การทำงานที่ปลอดภัย ด้านความก้าวหน้าในสายงาน ด้านความภาคภูมิใจ ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และอยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในงาน   ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงาน ก.พ. พบว่า บุคลากรสำนักงาน ก.พ. ที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาปฏิบัติงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

เดชพงศ์ โพธิสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ระดับปฏิบัติการในองค์กรภาคเอกชน ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธัญญญูรัตน์ วิทูรากร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นทีรัย เกรียงชัยพร และอุทัย เลาหวิเชียร. (2562). “ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคุณภาพชีวิตงาน ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานการประปาส่วนภูมิภาค.” วารสารรัชต์ภาคย์. 13(30) : 71 - 82.

พิชชาภา เกาะเต้น. (2563). ผลกระทบของการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพัน และประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท โตโยต้านครธน จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของ พนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วัชรีเนตร วุฒานุสรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการ กองบัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกริก.

สถาบันเสริมสร้างขีดความสามารถมนุษย์. (2552). สร้างคุณภาพชีวิตในองค์การเพื่อความสุขในการทำงานที่มากกว่าด้วย MS-QWL Step by Step. นนทบุรี : หยินหยางการพิมพ์.

สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการ มหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรียา การดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของและบุคลากรทางการ ศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Bruce, W. M., & Blackburn, J. W. (1992). Balancing Job Satisfaction & Performance : a Guide for Human Resource Professionals. Westport : Quorum Books.

Casio, W. F. (2003). Managinghumanresources : Productivity,qualityof work life,profits. New York : McGraw-Hill.

Huse, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization Development and Change. 3rd ed. West Saint Paul, Minnesota West.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)