การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในรายวิชาวิวัฒนาการสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ : กรณีศึกษา นักศึกษาสาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ศรัณยา ฤกษ์ขำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน, การเรียนแบบบูรณาการ, การพัฒนาทักษะครู

บทคัดย่อ

       การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เป็นหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่สนับสนุนการเรียนรู้ผ่านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทำให้นักศึกษาเกิดความรู้ที่หลากหลาย เนื่องจากการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเป็นการเรียนแบบบูรณาการที่ผู้เรียนต้องฝึกการตั้งคำถามและหาคำตอบโดยร่วมมือกับผู้อื่น ซึ่งการเรียนรู้ด้วยวิธีนี้ทำให้นักศึกษาเกิดทักษะหลายด้าน งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานในรายวิชาวิวัฒนาการสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยมีกลุ่มประชากรเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป ชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาวิวัฒนาการสำหรับครู ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 49 คน ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) (อรพรรณ บุตรกตัญญู, 2561) เพื่อสร้างทักษะการศึกษาและสังเกตการณ์ที่ต้องใช้มุมมองแบบองค์รวม การตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ศึกษา การศึกษาปรากฏการณ์ด้วยการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และการสะท้อนความคิด และประเมินตามสภาพความเป็นจริง ทำให้ได้แนวการเรียนรายวิชาวิวัฒนาการสำหรับครูโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาสาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชุติมา สรรเสริญ. (2560). “การพัฒนาความสามารถการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญญาเป็นฐาน (Problem-Based learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/ SearchDetail/ 291312.

ทัณฑธร จุ้ยสวัสดิ์, นพมณี เชื้อวัชรินทร์ และ ปริญญา ทองสอน. (2564). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน.” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ. 22(1) : 1 - 17.

นวพร ชลารักษ์. (2558). “บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.” วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 9(1) : 64 - 71.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). “การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42(2) : 73-90.

พณิดา เตชะผล, กรวี นันทชาติ และ สมสงวน ปัสสาโก. (2564). “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อ การเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.” วารสารคุรุศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(1) : 19-36.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2561). “แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.edu.ru.ac.th/images/edu_KM/36833_ km-05082562.pdf.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.

หัสวนัส เพ็งสันเทียะ. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). “การเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน.” วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46(2) : 348 - 365.

Partnership for 21st Century Skills. (2009). “Framework for 21st-century learning.” [online]. Available : https://files.eric.ed.gov/fulltext/ ED519462.pdf Retrieved January 4,2021.

Silander, P. (2015). Digital Pedagogy. In Mattila, P., & Silander, P. (Eds.), How to create the school of the future : Revolutionay thinking and design from Finland. Oulu : University of Oulu, Center for Internet Excellence. (pp. 9 - 26).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)