การพัฒนา การพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี
การพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบผสมผสาน,, รูปแบบบิกซิกส์, การรับรู้สารสนเทศบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ สำหรับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 2) เพื่อศึกษาการรับรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ 3) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ กับนักศึกษาที่เรียนแบบปกติ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาทักษะการรู้สารสนเทศ ปีการศึกษา 2/2562 นักศึกษา 2 ห้องเรียน จำนวน 85 คน ได้มาโดยการเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบบิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบทดสอบการรับรู้สารสนเทศ แบบวัดความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบบิกซิกส์ ที่ส่งเสริม การรับรู้สารสนเทศ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ พบว่า ผลตรวจสอบความเที่ยงตรง อยู่ในระดับใช้ได้ 2) ผลการศึกษาการรับรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ พบว่าผลการศึกษาคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน(Pretest) และหลังเรียน(Posttest)การรับรู้สารสนเทศ นักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ ( x=43.26, s.d.= 2.20) สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ( x=15.06, s.d.= 2.05) 3) ผลเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศของนักศึกษาที่เรียนโดยการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ กับนักศึกษาที่เรียนแบบปกติ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มทดลองเท่ากับ ( x=43.26, s.d. = 2.20) สูงกว่ากลุ่มปกติซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ( x=38.68, s.d. =2.76) และ 4) ระดับความพึงพอใจนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการพัฒนาการเรียนรู้แบบผสมผสานตามรูปแบบ บิกซิกส์ ที่ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( x=4.62, s.d. = 0.05)