การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยว (10A’s) และองค์ประกอบของการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 22 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน/ผู้ประกอบการ ภาคชุมชน และนักวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ SWOT Analysis & TOWS Matrix
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของการท่องเที่ยว (10A’s) จังหวัดสุรินทร์
มีความโดดเด่น 6 ด้าน ได้แก่ 1.1) แหล่งท่องเที่ยว 1.2) ที่พักแรม 1.3) สิ่งอำนวย
ความสะดวก 1.4) กิจกรรมการท่องเที่ยว 1.5) บรรยากาศในแหล่งท่องเที่ยว 1.6) ความเป็นมิตรของคนในชุมชน องค์ประกอบของการท่องเที่ยวที่ควรปรับปรุง 4 ด้าน ได้แก่ 1.1) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว 1.2) บริการเสริมทางการท่องเที่ยว 1.3) ความพร้อมในการจัดนำเที่ยว 1.4) นโยบายของภาครัฐ องค์ประกอบของการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดสุรินทร์มีชุมชนหลายแห่งที่มีศักยภาพรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนเต็มใจให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งสามารถสร้างประสบการณ์
อันน่าประทับใจแก่นักท่องเที่ยว 2) การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนร่วมประชุมเพื่อเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยแบ่งความรับผิดชอบตามความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละครอบครัว กำหนดสัดส่วนในการแบ่งผลประโยชน์ บันทึกสถิตินักท่องเที่ยว บันทึกรายรับรายจ่าย และประชุมเพื่อแจ้งปัญหาหลังจัดกิจกรรมทุกครั้ง โดยมีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเข้ามาช่วยเหลือและให้คำแนะนำแก่ชุมชน 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน เสนอแนวทางการดำเนินการตามกลยุทธ์เชิงรุก กลยุทธ์เชิงแก้ไข กลยุทธ์เชิงป้องกัน และกลยุทธ์เชิงรับ จำนวน 14 กลยุทธ์ โดยมีองค์ความรู้ใหม่เป็น SMART Model ประกอบด้วย S (Synergy) การผนึกกำลังกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และชุมชน M (Marketing) การตลาดแบบบูรณาการ
A (Activity) กิจกรรมการท่องเที่ยว R (Resource) บุคลากรด้านการท่องเที่ยว และ
T (Training) การฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ต้นฉบับทุกเรื่องที่พิมพ์เผยแพร่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Peview) เฉพาะสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การตีพิมพ์บทความซ้ำต้องได้รับการอนุญาตจากกองบรรณาธิการเป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). คู่มือการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์. https://www.dot.go.th/news/internal-audit-plan/
detail/3052/8
ชิดชนก อนันตมงคลกุล, และ กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่อง
เที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสาร
วิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(2), 1-20. https://so02.tci-thaijo.
org/index.php/jitt/article/ view/177702
โชคดี คู่ทวีกุล (ผู้ถ่ายภาพ). รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนพื้นฐานการมี
ส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. ณ บ้านเลขที่ 13 เขตบางบอน
กรุงเทพมหานคร. เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567.
ถิรพร แสงพิรุณ, รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์, และ อังค์ริสา แสงจำนงค์. (2565). การศึกษา
กิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชนคลองราง
จระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมนุษย์ศาสตร์วิชาการ,
(1), 274-294. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/abc/ article/
view/241926/175371
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ:
คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
นุชนารถ รัตนสุวงศ์ชัย, ศุศราภรณ์ แต่งตั้งลํา, และ ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2566). พฤติกรรม
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในจังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี
และลพบุรี. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 19(1), 37-73.
https://so02.tcithaijo.org/index.php/jitt/article/view/258013/176715
บุญเพ็ญ สิทธิวงษา, กนกอร บุญมี, และ อาทิตย์ แสงเฉวก. (2565). การบริหารจัดการ
ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัด
หนองคายและบึงกาฬ. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราช
วิทยาลัย, 5(2), 49-66. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/ JSSMBU/
article/view/261255/178271
ใบเฟิร์น วงษบัวงาม, และ ญาณาธร เธียรถาวร. (2566). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการ
จัดการและการพัฒนาการทองเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อนําไปสู่การเป็นเมือง
สร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 4(3), 45-
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/MSVAR /article/
view/270818/181325
วนิดา อ่อนละมัย. (2565). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบ ชุมชน
บ้านศรีฐาน จังหวัดขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยา
ลัยรามคําแหง, 5(2), 42-56. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ibas/
article/view/256736/ 173401
วันวิสาข์ พลอย อินสว่าง, ดุสิตพร ฮกทา, และ อัญชิษฐา กิ้มภู่. (2564). การพัฒนา
ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัด
ตรังอย่างมีส่วนร่วม [รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี
วิชัย]. https://riss.rmutsv.ac.th/upload/doc/202103/ lh8y73AUtTw
wb8ebhIZ/lh8y73AUtTw3wb8ebhIZ.pdf
ศิริพร ถาวรวิสิทธิ์, และ เสรี วงษ์มณฑา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
วัฒนธรรมของจังหวัดน่าน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 298-314. https://
so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/ article/view/247650/170420
แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการ
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป [สารนิพนธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]. http://ir-ithesis.
swu.ac.th/dspace/handle/123456789/928
สำนักงานจังหวัดสุรินทร์. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570).
สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ (5) ประเด็นการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2561-2580). https://www.
senate.go.th/view/181/แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ๒๓ด้าน/TH-TH
เสรี วงษ์มณฑา. (2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการสัมมนาร่วมสมัยประเด็น
ทางด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
หนึ่งหทัย ขอผลกลาง. (2560). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิง
สร้างสรรค์ อำเภอ เชียงคาน จังหวัดเลย [รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี]. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bit
stream/123456789/7409/2/Fulltext.pdf
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
(2559). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (creative toutism). กรุงเทพฯ: โคคูน
แอนด์ โค.
ฮว่าน เหงียน เวิน (Hoan Nguyen Van). (2563). แนวทางการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่อง
เที่ยวชุมชนบ้านสบแฝก ตำบลแม่แฝกใหม่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
[การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้].
http://ir.mju.ac.th/dspace/handle/123456789/417
Ferreira, J., & Sousa, B. (2019). Experiential Marketing as Leverage for
Growth of Creative Tourism: A Co-creative Process. In Rocha, Á.,
Abreu, A., de Carvalho, J., Liberato, D., González, E., Liberato, P.
(eds), Advances in Tourism, Technology and Smart Systems. Smart
Innovation, Systems and Technologies, (pp. 567-577). Springer,
Singapore.
Richards, G. (2019). Creative Tourism: Opportunities for Smaller Places?
Tourism & Management Studies, 15(SI), 7-10. https://www.researchgate.net/
publication/317552405_Creative_tourism_opportunities_for_
smaller_places