Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 16-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
  • Articles published are subject to editorial scrutiny. and at least 2-3 experts in related fields, both anonymously (Double-Blind Peer Review). The editorial review is final.

วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติ จัดพิมพ์เผยแพร่เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ตลอดจนเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทางวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดออกปีละ 2 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม) แต่ละฉบับจะตีพิมพ์ 10 - 15 บทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่จะผ่านการกลั่นกรองคุณภาพจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน โดยไม่เปิดเผยชื่อทั้งสองทาง (Double - Blind Peer
Review) ผลการพิจารณาจากกองบรรณาธิการถือเป็นที่สุด ทั้งนี้เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องคิดเห็นพ้องด้วย และไม่ถือเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ลักษณะบทความที่รับตีพิมพ์เผยแพร่
1. เป็นบทความในกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ภาษาและวรรณกรรม คติชนวิทยา..โบราณคดี..ปรัชญา..ศาสนา..ดนตรีนาฏศิลป์..ศิลปะการแสดง..ทัศนศิลป์ จิตรกรรม..กฎหมาย..สังคมวิทยา..มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์..รัฐประศาสนศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และสาขา
ที่เกี่ยวข้อง
2. บทความที่ส่งเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ (ถ้าได้รับการตอบรับที่จะให้ลง) หรือกำลังเสนอตีพิมพ์ในวารสาร รายงานการประชุมทางวิชาการ หรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน
3. รับพิจารณาบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยบทความภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนบทความภาษาอังกฤษต้องมีบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใส่บทคัดย่อภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ
4. หากเป็นงานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์
5. ต้นฉบับต้องได้รับการกลั่นกรองจากกองบรรณาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน โดยผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double - Blind Peer Review)
6. กองบรรณาธิการจะไม่คืนต้นฉบับให้เจ้าของบทความ

ประเภทของผลงานที่รับพิจารณา
1. บทความวิชาการ (Article)
2. บทความวิจัย (Research Article)
3. บทความปริทัศน์ (Review Article)
4. วิจารณ์หนังสือ (Book Review)
5. จดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the Editor) เพื่อแสดงความคิดเห็นสนับสนุนหรือโต้แย้งความเห็นของนักวิจัยอื่น ๆ ตลอดจนการเผยแพร่ความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจ

การจัดเตรียมต้นฉบับ
1. บทความทุกเรื่องต้องมีชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียนไม่เกิน 3 คน หากเกินให้ใช้คำว่า และคณะ
2. บทความทุกเรื่องต้องมีบทคัดย่อและคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อมีความยาวไม่เกิน 300 คำ และคำสำคัญ (Keywords) ของเรื่อง ไม่เกิน 5 คำ
3. ต้นฉบับที่จัดส่ง ต้องพิมพ์บนกระดาษขนาด A4 เว้นระยะขอบ 1.5 x 1.5 นิ้ว ใส่เลขกำกับมุมบนขวาทุกหน้า ยกเว้นหน้าแรก ใช้แบบอักษร TH Sarabun PSK ขนาดตัวอักษร 14 Point
4. ชื่อเรื่องและชื่อผู้เขียนจัดกึ่งกลางหน้ากระดาษใช้ตัวอักษรตัวหนา โดยบรรทัดแรกเป็นชื่อเรื่องขนาดตัวอักษร 20 Point บรรทัดต่อมาเป็นชื่อผู้เขียนขนาดตัวอักษร 18 Point หากมีผู้เขียนหลายคน ใส่เครื่องหมายจุลภาค (Comma) และเชิงอรรถระบุ ตำแหน่งทางวิชาการ สังกัดผู้เขียน และ E-mail ขนาดตัวอักษร 12 Point

5. รายการอ้างอิง บรรณานุกรมเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้การอ้างอิงแบบเอพีเอ (APA - American Psychological Association) รายการอ้างอิงมาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ที่ชัดเจน น่าเชื่อถือ อาจเป็นวารสาร หนังสือ แหล่งข้อมูลอินเทอร์เน็ต หรือการสัมภาษณ์ ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้อง
ของรายการอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ การอ้างอิงไม่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่วารสารกำหนดจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่า
การอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง
6. กรณีมีภาพ กราฟ หรือตาราง ที่ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่องให้ระบุเลขกำกับภาพ
คำอธิบาย และที่มาใส่ไว้ใต้ภาพ ชิดขอบซ้ายของภาพ ส่วนตารางให้ระบุเลขกำกับตาราง
คำอธิบายด้านบนระบุที่มาด้านล่างชิดขอบซ้ายของตาราง โดยใช้อักษร TH Sarabun PSK ขนาดอักษร 14 Point
7. ความยาวของบทความ ภาพ ตาราง และรายการอ้างอิง ไม่ควรเกิน 15 หน้า กระดาษ A4
8. ในกรณีบทความวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ให้แนบหนังสือรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ 1 ฉบับ
9. บทความทุกเรื่องต้องส่งในรูปแบบ Word และ PDF ผ่านระบบ Thaijo ของวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี (https://www.tcithaijo.org/index.php/jhsc/login)

หมายเหตุ: ผู้เขียนต้องจัดทำบทความให้เป็นไปตามรูปแบบที่วารสารกำหนดทุกประการ

รูปแบบของบทความ
บทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. บทคัดย่อ (Abstract)
3. คำสำคัญ (Keywords)
4. บทนำ (Introduction)
5. วัตถุประสงค์ (Research Objectives)
6. วิธีการวิจัย (Research Methodology)
7. ผลการวิจัย (Results)
8. อภิปรายผลการวิจัย (Discussion)
9. บทสรุป (Conclusion)
10. รายการอ้างอิง (Reference)

บทความวิชาการ
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. บทคัดย่อ (Abstract)
3. คำสำคัญ (Keywords)
4. บทนำ (Introduction)
5. เนื้อหา (Substance)
6. บทสรุป (Conclusion)
7. รายการอ้างอิง (Reference)

บทความปริทัศน์/บทวิจารณ์หนังสือ
1. ชื่อเรื่อง (Title)
2. เนื้อหา (Substance)
3. บทสรุป (Conclusion)
4. รายการอ้างอิง (Reference)


เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมต้นฉบับ
เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ดังนี้
1. แบบฟอร์มส่งต้นฉบับบทความวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งผู้เขียนและผู้เขียนร่วมทุกท่านต้องลงนามยืนยัน
2. หนังสือรับรองจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ 1 ฉบับ (ถ้ามี)

หมายเหตุ : ส่งบทความและเอกสารแนบในรูปแบบ Word และ PDF ผ่านระบบ Thaijo
ตามลิ้งค์ https://so03.tcithaijo.org/index.php/jhsc/login เท่านั้น

การอ้างอิงเอกสาร
การอ้างอิงในเนื้อหา (In-Text Citation)
1) การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี
ผู้แต่ง 1 คน

ไทย ชื่อ/สกุล/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (ชื่อ/สกุล,/ปี:/เลขหน้า)
อังกฤษ สกุล/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (สกุล,/ปี:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง
วุฒิชัย มูลศิลป์ (2554: 37) หรือ (วุฒิชัย มูลศิลป์, 2554: 37)
Kidd (1987: 15-16) หรือ (Kidd, 1987: 15-16)

ผู้แต่ง 2 คน

ไทย ชื่อ/สกุลคนที่ 1/และ/คนที่ 2/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (ชื่อ/สกุลคนที่ 1/และคนที่ 2/,/ปี:/
เลขหน้า)
อังกฤษ สกุลคนที่ 1/และ/คนที่ 2/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (สกุลคนที่ 1/และคนที่ 2,/ปี:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง
ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ (2536: 45) หรือ (ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ,
2536: 45)
Bernard & Krupat (1994: 7) หรือ (Bernard & Krupat, 1994: 7)

ผู้แต่ง 3 คน

ไทย ชื่อ/สกุลคนที่ 1/และคณะ/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (ชื่อ/สกุลคนที่ 1/และคณะ,/ปี:/เลขหน้า)
อังกฤษ สกุลคนที่ 1/และคณะ/(ปี:/เลขหน้า) หรือ (สกุลคนที่ 1/และคณะ,/ปี:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง
ขวัญชนก นัยจรัญ และคณะ (2562: 10) หรือ (ขวัญชนก นัยจรัญ และคณะ, 2562: 10)
Kate & et al. (2008: 23) หรือ (Kate & et al., 2008: 23)

 

2) การอ้างอิงมากกว่าสองแหล่งข้อมูล ให้เขียนเรียงตามลำดับตัวอักษร
ตัวอย่าง
...สอดคล้องกับผลการศึกษาของมานะ นาคำ (2549: 9) และ สีลาภรณ์ บัวสาย (2548: 15)…
…หรือถึงแก่ชีวิต (เพิ่มพูน แพนศรี, 2551: 20; ศรีวรรณ มีคุณ, 2548)
…การวัดที่มีตัวแปรแผงหลายตัว (Embretson & Reise, 2000; Marvelde et al., 2006)

 

3) การอ้างอิงเอกสารทุติยภูมิ
การอ้างอิงหน้าข้อความ

ไทย ชื่อ/สกุล/(ปี:/เลขหน้า,/อ้างถึงใน/ชื่อ/สกุล,/ปี)...
อังกฤษ สกุล/(ปี:/เลขหน้า,/as cited in/สกุล,/ปี)...

ตัวอย่าง
ธารตะวัน บุญยพรหม (2552: 56, อ้างถึงใน ชญาดา ราศีจันทร์ และคณะ, 2563)…
Snow (2006: 53, as cited in Goldstein et al., 2003)...

การอ้างอิงท้ายข้อความ

ไทย ...(ชื่อ/สกุล,/ปี:/เลขหน้า/อ้างถึงใน/ชื่อ/สกุล,/ปี)...
อังกฤษ ...(สกุล,/ปี:/เลขหน้า/as cited in/สกุล,/ปี)...

ตัวอย่าง
...(ธารตะวัน บุญยพรหม, 2552: 8, อ้างถึงใน ชญาดา ราศีจันทร์ และคณะ, 2563)…
...(Snow, 2006: 15 as cited in Goldstein et al., 2003)...

 

4) การอ้างอิงจากบทสัมภาษณ์

ไทย ชื่อ/สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์/(สัมภาษณ์:/วัน/เดือน/ปี) หรือ (ชื่อ/สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์,/
สัมภาษณ์:/วัน/เดือน/ปี)
อังกฤษ สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์/(สัมภาษณ์:/วัน/เดือน/ปี) หรือ (สกุลผู้ถูกสัมภาษณ์,/สัมภาษณ์:/
วัน/เดือน/ปี)

ตัวอย่าง
ทวี ภักดี (สัมภาษณ์: 9 กรกฎาคม 2559) หรือ (ทวี ภักดี, สัมภาษณ์: 9 กรกฎาคม 2559)
Dormnings (interview: February 11, 2018) หรือ (Dormnings, interview:
February 11, 2018)

 

5) การอ้างอิงข้อมูล กรณีไม่มีชื่อผู้เขียน
สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของงานอื่น (บทในหนังสือ/บทความในวารสาร/สารานุกรม)

ไทย “ชื่อเรื่อง”/(ปีที่เผยแพร่”:/เลขหน้า) หรือ (“ชื่อเรื่อง,/” ปีที่เผยแพร่:/เลขหน้า)
อังกฤษ “ชื่อเรื่อง”/(ปีที่เผยแพร่”:/เลขหน้า) หรือ (“ชื่อเรื่อง,/” ปีที่เผยแพร่:/เลขหน้า)

ตัวอย่าง
“เกษตรกรรม” (2563: 11) หรือ (“เส้นทางความสุข: การสัมผัสธรรมชาติ,” 2559: 15)
“Preschool Prep,” (2010: 15) หรือ (“Preschool Prep,” 2010: 14)

สารสนเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของงานอื่น ๆ (หนังสือ/รายงาน/เว็บไซต์)

ไทย “ชื่อเรื่อง”/(ปีที่เผยแพร่”:/ออนไลน์) หรือ (“ชื่อเรื่อง,/” ปีที่เผยแพร่:/ออนไลน์)
อังกฤษ “ชื่อเรื่อง”/(ปีที่เผยแพร่”:/ออนไลน์) หรือ (“ชื่อเรื่อง,/”ปีที่เผยแพร่:/ออนไลน์)

ตัวอย่าง
ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่? (2562: ออนไลน์) หรือ
(ไขข้อข้องใจ การบ้านยังจำเป็นสำหรับเด็กยุคใหม่หรือไม่?, 2562: ออนไลน์)
Interpersonal Skills (2019: Online) หรือ (Interpersonal Skills, (2019: Online)

 

รูปแบบรายการอ้างอิงท้ายบทความ
1) หนังสือ
ผู้แต่ง 1 คน

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง
ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้: กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ
เสรีภาพและความสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรีน ปัญญาญาณ.
Witten, I. H. (2016). How to Build a Digital Library (6th ed.). San Francisco:
Morgan Kaufmann Publishers.

ผู้แต่ง 2 คน

ไทย ชื่อ/สกุล,/และ/ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ.,/&สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./
สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ, และ บาหยัน อิ่มสำราญ. (2550). ภาษากับการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 2).
กรุงเทพฯ: พี เพรส.

ผู้แต่ง 3-20 คน ให้ใส่ชื่อทุกคน

ไทย ชื่อ/สกุล1,/ชื่อ/สกุล2,/ชื่อ/สกุล3,/ชื่อ/สกุล4,/ชื่อ/สกุล5,/ชื่อ/สกุล6,/และ/ชื่อ/สกุล7./(
ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ1.,/สกุล,/อักษรย่อชื่อ2.,/สกุล,/อักษรย่อชื่อ3.,/สกุล,/อักษรย่อชื่อ4.,/
สกุล,/อักษรย่อชื่อ5.,/สกุล,/อักษรย่อชื่อ6.,/&/สกุล,/อักษรย่อชื่อ7./(ปีที่พิมพ์)./
ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง
พชร สันทัด, สุรชาติ ณ หนองคาย, สมาน งามสนิท, ฐนันดร์ศักดิ์ บวรนันทกุล, เษฐรัชดา
พรรณาธิกุล, กฤษฏิ์ สถิตวัฒนานนท์, และ ประยงต์ เต็มชวาลา. (2557). ศาสตร์
และศิลป์การบริหารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริม
คุณธรรม.

 

2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

มีผู้แต่ง ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL
ไม่มีผู้แต่ง ชื่อเรื่อง./(ปีที่พิมพ์)./สำนักพิมพ์./URL

ตัวอย่าง
อรทัย วารีสะอาด. (2550). เทคนิคการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในยุค
ดิจิทัล. ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัศรีนครินทรวิโรฒ. http://okipac.swu.ac.th:8080/mm-data/
acrobat/b143511.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). รายงานสถิติรายปีประเทศไทย 2564. http://
service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/SYB-2021/
index.htmlHanson, A., & Levin, Bruce Lubotsky. (2010). Building a Virtual
Library. Information Science. http://www.netLibrary.com/urlapi.asp?.

 

3) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีเลข DOI

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./https://doi.org/เลข DOI
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./https://doi.org/เลข DOI

ตัวอย่าง
Jackson, L. M. (2019). The psychology of prejudice: From attitudes
to social action (2nd ed.). American Psychological Association. https://
doi.org/10.1037/0000168-000.

ตัวอย่าง
สันติชัย แย้มใหม่. (2564, มกราคม-มิถุนายน). หน้าพรานจิ๋วและเทริดจิ๋ว: การ
พัฒนาทุนทางวัฒนธรรมสู่สินค้าทางวัฒนธรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(1), 84-111.
Allen, R. B. (2020). Semantic simulations based on object-oriented analysis
and modeling. LIBRES, 29(2), 109-123.

 

5) บทความในวารสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
บทความวารสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีเลข DOI

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./URL
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.URL

ตัวอย่าง
อมร หวังอัครางกูร, และ อุดม รัฐอมฤต. (2564). การแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน
ที่กระทำผิดในคดียาเสพติด: รูปแบบและมาตรการเชิงปฏิบัติของต่างประเทศ
กับข้อเสนอเชิงการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 13(2), 63-90. https://so03.
tci-thaijo.org/index.php/jhsc/issue/view/16734.
Sillick, T. J., & Schutte, N. S. (2006). Emotional intelligence and self-esteem
mediate between perceived early parental love and adult happiness.
E-Journal of Applied Psychology, 2(2), 38-48. http://ojs.lib.swinedu.
au/index.php/ejap.

บทความวารสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเลข DOI

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./
https://doi.org/เลข DOI
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่ (เลขของฉบับที่),/เลขหน้า./
https://doi.org/เลข DOI

ตัวอย่าง
ธัญนาฏ ญาณพิบูลย์, สุจินดา โพธิ์ไพฑูรย์, และ นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2563). ความ
สามารถในการใช้ความรู้และนวัตกรรมกับประเด็นที่โดดเด่นขององค์กรใหม่ใน
ธุรกิจภาคเกษตร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(2), 54-72. https://doi.
org/10.14456/cbsr,2020.3.
Herbst-Damm, K. L., & Kulik, J. A. (2005). Volunteer support, marital status,
and the survival times of terminally ill patents. Health Psychology,
24(2), 225-229. https://doi.org/10.1037/0278-6133.24.2.225.

 

6) การอ้างอิงสื่อสังคมออนไลน์
ตัวอย่างการอ้างอิงทวิตเตอร์
กรมประชาสัมพันธ์ [@prd_official]. (10 กันยายน 2563). เปรียบเทียบโควิด-19 กับ
โรคระบาดอื่น ๆ ในรอบ 1,000 ปี [ทวีต]. ทวิตเตอร์. https://twitter.com/
prd_offical/status/1303944693047148544
World Health Organization (WHO) [@WHO]. (2020, September 20).
#Thailand launched its response to #COVID19 on 3 January 2020 a
10 days before the first case was detected in [Tweet]. Twitter.
https://twitter.com/WHO/status/1307388947568484353.

ตัวอย่างการอ้างอิงเฟซบุ๊ก
กรมประชาสัมพันธ์. (10 กันยายน 2563). สรุปสถานการณ์โควิด - 19 ทั้งใน
ประเทศและทั่วโลก (20 ก.ย. 63) พบผู้ป่วยรายใหม่ 6 ราย กลับจากต่าง
ประเทศ [อินโฟกราฟิก]. เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/Sumnakkaow.
PRD/posts/5059776200714526.
World Health Organization (WHO). (2020, September 20). Media briefing
on a world in disorder, The Global Preparedness Monitoring
Board 2020 report [Video]. Facebook. https://facebook.com/WHO/
videos/801931560622302.

 

7) วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต และวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ปริญญานิพนธ์/ชื่อย่อปริญญา/(สาขาวิชา)./จังหวัด:/
ชื่อถาบันการศึกษา.
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่อง./ปริญญานิพนธ์/ชื่อย่อปริญญา/ (สาขาวิชา)./เมือง
หรือรัฐ:/ชื่อถาบันการศึกษา.

ตัวอย่าง
รัชฎาภรณ์ มูลมาก. (2554). การวางแผนกลยุทธ์การตลาดสำหรับงานบริการห้อง
สมุดของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ กศ.บ. (สารสนเทศศึกษา). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Evan Norcross Flynn. (2014). Liberation of the Senses: An Exploration of
Sound –Color Synesthesia in the Music of Alexander Scriabin and
Olivier Messiaen. Dissertation, M.A. (Music). Lawrence: University of
Kansas.

วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต และวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจากเว็บไซต์

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตหรือ
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อเว็บไซต์./URL
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์/[doctoral dissertation หรือ
master’s thesis,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อเว็บไซต์./URL

ตัวอย่าง
กัลญา แก้วประดิษฐ์. (2556). กระจูด: การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในชุมชนด้วยศิลป
หัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม]. ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/.

8) บุคลานุกรม

ชื่อ/สกุลผู้ให้สัมภาษณ์/(ผู้ให้สัมภาษณ์)/ชื่อ/สกุลผู้สัมภาษณ์/(ผู้สัมภาษณ์)./ณ/ชื่อหมู่บ้าน/
หมู่ที่/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด./เมื่อวันที่/วัน/เดือน/ปีที่สัมภาษณ์

ตัวอย่าง
ทวี ภักดี (ผู้ให้สัมภาษณ์) จีรวรรณ ศรีหนูสุด และ วนิษา ติคำ (ผู้สัมภาษณ์). ณ บ้านห้วย
แห้ง หมู่ 11 ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 9
กรกฎาคม 2559.

9) หนังสือพิมพ์และหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

ไทย ชื่อ/สกุล./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า./URL (ถ้ามี)
อังกฤษ สกุล,/อักษรย่อชื่อ./(ปี,/วัน/เดือน)./ชื่อคอลัมน์./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า./URL (ถ้ามี)

ตัวอย่าง
ประเวศ วะสี. (2564, 7 เมษายน). วิกฤตโควิดสอนว่าต้องยกระดับสมรรถนะของชาติให้
สูงสุด. ไทยโพสต์, 1. https://www.thaipost.net/main/detail/98627.

10) หนังสือแปล
มีชื่อผู้แต่งเดิม
สกุล, ชื่อผู้แต่งเดิม./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องภาษาไทย/[ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ]/(พิมพ์ครั้งที่)/(ชื่อผู้แปล,/
ผู้แปล)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
ไม่มีชื่อผู้แต่งเดิม
ชื่อ-สกุล, ผู้แปล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องภาษาไทย/[ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ]/(พิมพ์ครั้งที่)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
   ตัวอย่าง
  ออร์เรลล์, ดี. (2556). หัวใจเศรษฐศาสตร์ [Introducing economics] (ณัฏฐาภรณ์ 
เลียมจรัสกุล, ผู้แปล). นครปฐม: มูลนิธิเด็ก.
  นารียา, ผู้แปล. (2561). อ้ายเหลือบ [The Gadfly]. กรุงเทพฯ: คลาสสิกบุ๊คส์.
11) สารานุกรม
ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อสารานุกรม./เล่มที่,/น./เลขหน้า.
     ตัวอย่าง
     ธีรยุทธ ยวงศรี. (2542). ละครชาตรี. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง. 12, อักษร ล, น. 5778-5779. 
   ประสิทธิ์ ธีรานันท์. (2552). ละครแก้บนเมืองเพชรบุรี. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย 
ภาคกลาง. 12, อักษร ล, น. 5770.
12) ราชกิจจานุเบกษา
ชื่อกฎหมาย./(วัน/เดือน/ปี)./ราชกิจจานุเบกษา/เล่ม/ตอนที่//หน้า/เลขหน้า.
      ตัวอย่าง 
    ประกาศ กพอ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564. (7 มกราคม 
2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 4 ง หน้า 22-50.
13) รายงานการประชุมวิชาการ
ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ (บ.ก.),/ ชื่อหัวข้อการประชุม./
ชื่อการประชุม,/(เลขหน้า)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
     ตัวอย่าง
    พัชราภา ตันติชูเวช. (2555). การศึกษาทั่วไปกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ใน
ประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์. ใน ศิริชัย กาญจนวาสี (บ.ก.), การขับเคลื่อน
คุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมวิชาการและการเผยแพร่ผลงานวิชาการ
ระดับชาติ, (น. 97-102). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
14) ภาพจากงานวิจัย
ชื่อ/สกุล./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อภาพ./ใน/ชื่อเรื่อง./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.
      ตัวอย่าง
    เดชวินิตย์ ศรีพิณ. (2563). แกงปลาไหล. ใน รายงานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์งาน
ศิลปกรรม (จิตรกรรม): ประสาชาวบ้าน ณ หมู่บ้านเวียงประสาน ตำบลวัดประดู่ 
อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุราษฎร์ธานี.
15) ภาพที่ผู้เขียนถ่าย
ชื่อ/สกุล/(ผู้ถ่ายภาพ)./ชื่อภาพ./ณ/ชื่อหมู่บ้าน/หมู่ที่/ตำบล/อำเภอ/จังหวัด./เมื่อวันที่/วัน/เดือน/ปีที่ถ่ายภาพ.
      ตัวอย่าง
    สันติชัย แย้มใหม่ (ผู้ถ่ายภาพ). การบรรเลงดนตรีลิเกป่าด้วยเครื่องดนตรีดั้งเดิมกับเครื่อง
ดนตรีสากล. ณ ห้องลีลาวดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุราษฎร์ธานี. เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563.

16) สื่อโสตทัศน์
ตัวอย่าง
ภูวนาถ คุณผลิน. (2542). เจ้าไม่มีศาล ใน แกรมมี่โกลด์ ซีรี่ส์ [ซีดี]. กรุงเทพฯ: จี เอ็ม
เอ็ม แกรมมี่.
อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ (ผู้กำกับ). (2544). โหมโรง [ภาพยนตร์]. กรุงเทพฯ: สหมงคล
ฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล.

หมายเหตุ / หมายถึงระยะเว้นวรรค 1 ครั้ง

รายละเอียดค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ได้รับพิจารณาจากบรรณาธิการให้สามารถลงตีพิมพ์ในวารสารได้
ค่าธรรมเนียมการตรวจประเมินคุณภาพบทความ เรียกเก็บเมื่อบทความของท่าน ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของบทความเรียบร้อยแล้ว
1. ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความในวารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผลงานทางวิชาการ 250 บาท / ผลงาน
ขอสำเร็จการศึกษา 2,500 บาท ค่าธรรมเนียมจัดเก็บเมื่อตอบรับตีพิมพ์ (Accept) 
2. กรณีที่ผู้เขียนตีพิมพ์บทความเพื่อเป็นผลงานทางวิชาการมีความประสงค์เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความมากกว่า 3 ท่าน ผู้เขียนต้องรับผิดชอบค่าตรวจประเมินคุณภาพบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่ม ตามจำนวนเงินค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่วารสารจ่ายจริง
3. กรณีที่ผู้เขียนตีพิมพ์บทความเพื่อขอสำเร็จการศึกษามีความประสงค์เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความมากกว่า 2 ท่าน ผู้เขียนต้องรับผิดชอบค่าตรวจประเมินคุณภาพบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่ม ตามจำนวนเงินค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิที่วารสารจ่ายจริง
4. ในกรณีที่ผู้เขียนยกเลิกหรือขอถอนบทความในกระบวนการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาไปแล้ว ผู้เขียนต้องรับผิดชอบค่าค่าตรวจประเมินคุณภาพบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาบทความทั้งหมด