การศึกษาภาพจิตรกรรมบทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยวา ประเทศพม่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะทางประติมานวิทยาของภาพจิตรกรรมบทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาที่พบภายในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยัว ประเทศพม่า ผลการศึกษาพบว่า บทพุทธชัยมังคลอัฏฐคาถาเป็นบทสวดมนต์สำคัญที่กล่าวถึงชัยชนะอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้าในการปราบมนุษย์หรืออมนุษย์ด้วยธรรมวิธีต่าง ๆ 8 เหตุการณ์ โดยมีแนวคิดว่าบทสวดมนต์นี้แต่งขึ้นในประเทศศรีลังกาหรือในประเทศไทย ทั้งยังเป็นบทสวดมนต์ที่มีการแต่งคัมภีร์อธิบายขยายความคือคัมภีร์ฎีกาพาหุง ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นคัมภีร์ที่แต่งขึ้นในดินแดนประเทศไทย หากแต่รูปแบบและคติความเชื่อจากบทสวดมนต์ดังกล่าวได้ไปสะท้อนภาพบนจิตรกรรมภายในถ้ำโพวินต่อง เมืองโมนยัว ประเทศพม่า อย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2555). สัตตมหาสถาน: พุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุขกับศิลปกรรมอินเดียและเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ทองย้อย แสงศิลป์ชัย. (2542). พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุง). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พระสาสนโสภณ (เจริญ สุวฑฺฒโน). (2518). ประวัติคาถาชินบัญชร. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.
วศิน อินทสระ. (2545). พุทธชัยมงคลคาถา. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2540). เจ็ดตำนานและสิบสองตำนานพุทธมนต์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์หามกุฎราชวิทยาลัย.
สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2548). คาถาพาหุง: คาถาแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.
Webb, R. & Nyanatusita, B. (2011). An Analysis of the Pali Canon and a Reference Table of Pali Literature. Kandy: Buddhist Publication Society Inc.