การแสดงในพิธีกรรมภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สะท้อนบริบททางสังคม กรณีศึกษาพิธีกรรมแห่นางแมวบ้านนางั่ว ตำบลนางั่ว อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

ปาริชาติ ลาจันนนท์
อังคณา จันทร์แสงศรี
จันทร์พิมพ์ มีเปี่ยม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิธีกรรมและรูปแบบการฟ้อนในพิธีกรรมแห่นางแมว และเพื่อศึกษาการคงอยู่ของการแสดงในพิธีกรรมกับภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม การแห่นางแมวที่สะท้อนบริบททางสังคม
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนตามที่ทำสืบต่อกันมารุ่นสู่รุ่น โดยสมาชิกในตำบลนางั่ว มีเครื่องดนตรีประกอบ คือ กลองยาว ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง และ ฆ้องกระแต รูปแบบสภาพการฟ้อน เป็นท่าฟ้อนแบบชาวบ้าน มี 12 กระบวนท่ารำ ได้แก่ (1) ท่าไหว้ (2) ท่าปัดป้อง (3) ท่าขอฝน (4) ท่าลมพัด (5) ท่าดอกบัวบาน (6) ท่าสนุกสนาน (7) ท่าฝนเทลงมา (8) ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง (9) ท่าปลาเล็ก (10) ท่าปลาใหญ่ (11) ท่าเต่า และ (12) ท่านก 2) สถานภาพการคงอยู่ของการแสดงในพิธีกรรมแห่นางแมวที่ยังคงดำรงวิถีชีวิตด้านขนบธรรมเนียมประเพณีด้านการละเล่นโดยเฉพาะการฟ้อนรำการแห่นางแมว มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเอกลักษณ์ของชุมชนเป็นอย่างดี ชาวบ้านแต่ละหมู่มาร่วมพิธีกรรมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งความสำคัญของการแสดงฟ้อนในการแห่นางแมวยังทำให้เกิดความรักและความสามัคคีของคนในชุมชน

Article Details

How to Cite
บท
บทความวิจัย / บทความวิชาการ

References

แดง น้อยลา. สัมภาษณ์. 11 เมษายน 2566.

ทอง ขุยสุข. สัมภาษณ์. 11 เมษายน 2566.

ปรีชา พิณทอง, และอร่ามจิต ชิณช่าง. (2537). ประเพณีอีสาน : บุญบั้งไฟ. กรุงเทพฯ: ศิริธรรม.

ยูร ขุยสุข. สัมภาษณ์. 11 เมษายน 2566.

ลลนา ศักดิ์ชูวงษ์. (2547). การให้ความหมายและเหตุผลการดำรงอยู่ของประเพณีบั้งไฟพญานาคในยุคโลกาภิวัฒน์ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ลัดดา จิตตคุตตานนท์. (2552). การวิเคราะห์การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมเพื่อกรดำรงอยู่และสืบทอดประเพณีบูชาอินทขิล (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิรักษ์ โกช่วย. (2559). สัญลักษณ์ บทบาทหน้าที่ และคุณค่าของพิธีกรรมขอฝน ในเขตภาคเหนือตอนบนของไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). ทฤษฎีสังคมวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หอมด่วน ปานศรีทอง. สัมภาษณ์. 13 เมษายน 2566.