การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและแนวคิดที่ได้หลังจากการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ การสัมมนา ประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย และเกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ นำข้อมูลมาตรวจสอบ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ตามกระบวนการที่กำหนดไว้
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากการแสดงเฉพาะที่ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พื้นที่ในการแสดง คือ วัดช้างล้อม ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) บทการแสดง แบ่งออกเป็น 5 องก์ 3) ลีลาการเคลื่อนไหวแสดงออกผ่านลีลาการเคลื่อนไหวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Everyday Movement) และการด้นสด (Improvisation) 4) นักแสดงเป็นผู้ที่มีทักษะนาฏศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 5) เครื่องแต่งกายมีรูปแบบที่เรียบง่าย กลมกลืนกับพื้นที่ และไม่เจาะจงเพศ 6) เสียงประกอบการแสดง ได้แก่ เสียงธรรมชาติ และดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ และ 7) แสง ใช้แสงธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังหาแนวคิดที่ได้หลังการแสดงที่ต้องคำนึงถึงทั้งสิ้น 5 ประการ ได้แก่ 1) สถานที่และโบราณสถาน ณ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย 2) ความคิดสร้างสรรค์ในงานนาฏยศิลป์ 3) การออกแบบพื้นที่ 4) ความเรียบง่ายตามแนวคิดหลังสมัยใหม่ และ 5) แนวคิดทฤษฎีทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ผลของการวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนใจศึกษาการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์เฉพาะที่ในอนาคตต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
กรมศิลปากร. (2561). ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). สุโขทัย: อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย.
ณัฐวัฒน์ สิทธิ, อาจารย์ประจำภาควิชาภาควิชาศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. สัมภาษณ์. 24 พฤศจิกายน 2565.
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นจาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45637
นราพงษ์ จรัสศรี, อาจารย์ประจาภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 19 ธันวาคม 2565.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชชุตา วุธาทิตย์. (ม.ป.ป.). เกณฑ์การสร้างมาตรฐานในการยกย่องบุคคลต้นแบบทางด้านนาฏยศิลป์ [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hunter, V. (2015). Moving sites: Investigating site-specific dance performance. Routledge: London and New York.
Kloetzel, M., & Pavlik, C. (2009). Site dance: Choreographers and the lure of alternative spaces. Gainesville, FL: University Press of Florida.