เสน่ห์เสียงจะเข้ครูระตี วิเศษสุรการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักการบรรเลงจะเข้ตามแนวทางของครูระตี วิเศษสุรการ ในบริบทของการจัดระเบียบร่างกายในการบรรเลง รวมถึงหลักการในการบรรเลงจะเข้อันพึงปฏิบัติโดยรอบ เพื่อให้ได้ลีลาและคุณภาพเสียงอย่างครูระตี วิเศษสุรการ ไว้เป็นแบบอย่าง ผ่านมุมมองจากประสบการณ์ตรงของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล โดยการสัมภาษณ์ และสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากผู้ทรงคุณวุฒิทางจะเข้ ตลอดจนรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัย สิ่งพิมพ์ และเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
ครูระตี วิเศษสุรการ ท่านเป็นเอตทัคคะด้านจะเข้ที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่ง ได้รับการสืบทอดวิชาจะเข้จากครูทั้ง 3 ท่าน ได้แก่ ครูชุ่ม กมลวาทิน ครูจ่าง แสงดาวเด่น และครูแสวง อภัยวงศ์ ครูระตี วิเศษสุรการ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพลังฝีมือและมีรสมืออันเป็นเอกลักษณ์ชนิดที่เรียกว่า “คมคาย ไหว ร่อน เรียบ ชัดเจน กระจ่างแจ้ง” จนกระทั่งใช้เป็นแบบอย่างในการสืบทอดให้กับศิษย์ในสำนัก ครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล ถือเป็นศิษย์คนสำคัญที่ได้รับการสืบทอดโดยตรงจากครูระตี วิเศษสุรการ จนเป็นผู้มีความถึงพร้อมทั้งมือและใจ และเป็นที่เคารพยอมรับของนักจะเข้ในสำนัก และนักจะเข้ท่านอื่นในวงการดนตรีไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ข้อความรู้ใดๆ ตลอดจนข้อคิดเห็นใดๆ เป็นของผู้เขียนแต่ละท่านโดยเฉพาะ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และกองบรรณาธิการวารสารมนุษยศาสตร์ฯ ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
- บทความใดๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมนุษยศาสตร์ หากต้องการตีพิมพ์ซ้ำต้องได้รับอนุญาตก่อน
References
การประกวดดนตรีไทยเครือข่ายสถานศึกษาภาคตะวันออกครั้งที่ 1. (2565, 26 กรกฎาคม). เกร็ดความรู้ด้านการบรรเลงจะเข้โดยศาสตราจารย์ ดร.ขำคม พรประสิทธิ์... [วิดีโอ]. Facebook. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/watch/?mibextid=UalRPS&v=526902105791918&rdid=rCMjpkRw4X82licC
ขำคม พรประสิทธิ์. (2548). การดีดจะเข้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขำคม พรประสิทธิ์. (2554, 29 ธันวาคม). การเดินนิ้วจะเข้ [อภิปราย]. ใน การประกวดดนตรีไทยชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดโดยองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับมูลนิธิมนตรี ตราโมท ในพระราชูปถัมภ์ฯ และชุมนุมดนตรี ณ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จังหวัดนนทบุรี.
ขำคม พรประสิทธิ์. (2565, 27 มิถุนายน). การดีดทิงนอย [บรรยาย]. ใน โครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายครูดนตรีไทยภาคตะวันออก ณ ห้องราชมงคลรังสี. ฉะเชิงเทรา: โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร.
คณะผู้จัดทำหนังสือที่ระลึก. (2557). บูชาครูผู้เป็นที่รักและยินดี... “90 ปี คุณครูระตี วิเศษสุรการ”. กรุงเทพฯ: บริษัท พีเพรส จำกัด.
ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล, นักจะเข้. สัมภาษณ์. 1 สิงหาคม 2559.
ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล, นักจะเข้. สัมภาษณ์. 13 เมษายน 2565.
ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล, นักจะเข้. สัมภาษณ์. 2 กรกฎาคม 2559.
นิภา อภัยวงศ์. (2531). ส.สุรางคศิลป์กับคุณระตี วิเศษสุรการ. ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางระตี วิเศษสุรการ. กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรวงศ์ จำกัด.
ประชากร ศรีสาคร. (2560). การสืบทอดทักษะการบรรเลงจะเข้ของครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(2), 27-39.
ประชากร ศรีสาคร. (2562). การสร้างแบบฝึกสำหรับผู้เรียนเครื่องดีดไทย กรณีศึกษาเพลงจระเข้หางยาว สามชั้น ทางครูชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 6(1), 8-18.
ประสาร วงศ์วิโรจน์รักษ์, นักจะเข้ ศิลปินอิสระ. สัมภาษณ์. 11 พฤษภาคม 2565.
พิชิต ชัยเสรี, ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 22 กุมภาพันธ์ 2560.
พิชิต ชัยเสรี, ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สัมภาษณ์. 5 มกราคม 2564.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2532). นางระตี วิเศษสุรการ. ใน นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (รายงานผลการวิจัย) (น. 233). กรุงเทพฯ: รักษ์สิปป์.
รวี อ่างทอง, พนักงานธนาคารกสิกรไทย. สัมภาษณ์. 13 มิถุนายน 2565.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรม อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ศักรินทร์ สู่บุญ. (2531). ส.สุรางคศิลป์กับคุณระตี วิเศษสุรการ. ใน อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนางระตี วิเศษสุรการ. กรุงเทพฯ: บริษัทประยูรวงศ์ จำกัด.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Songsermvorakul, C. (2565, 13 เมษายน). คลิปนี้บันทึกเมื่อ 5 สิงหาคม 2556... [วิดีโอ]. Facebook. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/watch/?mibextid=UalRPS&v=1193171298176720&rdid=naZTJ7E0nmEsb9BN