ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Main Article Content

รัชชาวิชช์ วงศ์คำ
มีนมาส พรานป่า

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร คือ ครูในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา จำนวน 156 คน จาก 9 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 2 แบบ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .989 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร 3 คนที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง
ผลการวิจัยพบว่า
1) ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการบริหารจัดการองค์กร ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะมนุษย์ 2) แนวทางการพัฒนาทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะมนุษย์ ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องเปิดรับ เปิดใจ
และเปิดกว้างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา รับฟังความคิดเห็นแล้วจึงนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานทั้ง 4 ฝ่าย ที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อนำมาบริหารงานได้มีประสิทธิภาพ และมีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ให้ทันกับโลกยุคปัจจุบัน
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถใช้ทักษะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษา ให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

Article Details

How to Cite
วงศ์คำ ร. ., & พรานป่า ม. (2025). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารในโรงเรียนกลุ่มนววัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 9(1), 1–16. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/275893
บท
บทความวิจัย

References

Anutrakul, S. (2022). Digital literacy skills. Online. https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1246

Boonsa-at, N. (2020). 21st-century skills affecting the academic leadership of school administrators under the Samut Sakhon Primary Educational Service Area Office [Master’s thesis, Silpakorn University].

Chiamthong, K. (2018). The 21st-century school administrators' skills under the Secondary Educational Service Area Office 32 [Master’s thesis, Mahasarakham Rajabhat University].

Jedaman, P. (2019). Strategic leadership in the 21st century for sustainable transition in education management 4.0. Mahasarakham Rajabhat University Journal, 13(2), 1–15.

Mongkolsathien, P. (2020). Development of indicators for 21st-century management skills of school administrators under the Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3 [Master’s thesis, Uttaradit Rajabhat University].

Namnu, M. (2018). The 21st-century school administrators' skills under the Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 [Master’s thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi].

Phattiyanathanee, S. (2008). Educational assessment. Kalasin: Prasan Kanphim.

Preechanontakul, N. (2020). The 21st-century school administrators' skills affecting academic administration under the Office of the Vocational Education Commission in Rayong, Chanthaburi, and Trat provinces [Master’s thesis, Rambhai Barni Rajabhat University].